ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากทายกที่ไม่ได้แจ้งไว้ก่อน
เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ
[๕๗๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกทาสของเจ้าศากยะก่อการร้าย พวก เจ้าหญิงศากยะปรารถนาจะจัดภัตตาหารไว้ถวายภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกทาส ของเจ้าศากยะได้ฟังข่าวว่า พวกเจ้าหญิงศากยะปรารถนาจะจัดภัตตาหารไว้ถวาย ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า จึงไปดักซุ่มที่หนทาง พวกเจ้าหญิงศากยะนำของเคี้ยวของ ฉันอันประณีตไปยังเสนาสนะป่า พวกทาสของเจ้าศากยะจึงออกมาปล้นและทำร้าย เจ้าหญิงศากยะ พวกเจ้าศากยะออกไปจับพวกโจรได้พร้อมของกลางแล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่บอกว่ามีพวกโจรอยู่ในอารามเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเจ้าศากยะตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ ภิกษุทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ฯลฯ ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑- แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท พระบัญญัติ

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองในอารามแล้วฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็น ธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น” สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ จบ
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๕๗๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผู้เป็นไข้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกชาวบ้านนำ ของเคี้ยวของฉันไปถวาย ครั้นแล้วได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้นดังนี้ว่า “นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ” ทีนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการรับของ เคี้ยวของฉันในเสนาสนะป่าด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉัน” จึงไม่ยอมรับ ท่านไม่ สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ท่านได้แจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุ ทั้งหลายทราบ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้รับของเคี้ยวของฉัน ในเสนาสนะป่าด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระอนุบัญญัติ
[๕๗๒] อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้อยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเอง ในอารามแล้วฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือ ปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุผู้ป็นไข้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๓] คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ เสนาสนะ๑- มีระยะ ๕๐๐ ชั่วธนูเป็นอย่างต่ำ ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏที่อยู่ ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏมีมนุษย์ถูก พวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรทุบตี คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ในเสนาสนะเช่นนั้น คือ เสนาสนะเช่นนี้ ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน คือ ถึงจะแจ้งแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ นี้ชื่อว่าไม่ ได้รับแจ้งไว้ แจ้ง(ในที่อื่น) เว้นอาราม อุปจารแห่งอาราม นี่ก็ชื่อว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงเสนาสนะที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๒๕ เส้น (ดูเชิงอรรถ ข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า รับแจ้งไว้ คือ ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม มาที่อารามหรือ อุปจารแห่งอารามแล้วบอกว่า “พระคุณเจ้า ทายกทายิกาจะนำของเคี้ยวหรือของฉัน มาถวายภิกษุชื่อนี้” ถ้าที่นั้นน่าหวาดระแวง ภิกษุพึงบอกว่า “น่าหวาดระแวง” ถ้าที่นั้นมีภัยน่ากลัว ภิกษุพึงบอกว่า “มีภัยน่ากลัว” ถ้าเขาบอกว่า “ไม่เป็นไร ขอรับ เขาจักนำมาเอง” ภิกษุต้องบอกพวกโจรว่า “พวกชาวบ้านจะเข้ามาที่นี้ พวกท่านจงหลบไป” เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยข้าวต้มแล้ว เขานำเครื่องบริวารข้าวต้มนั้นมาด้วย นี้ชื่อว่า ได้รับแจ้งไว้ เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยภัตตาหารแล้ว เขานำเครื่องบริวารภัตตาหารนั้นมาด้วย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้ เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยของเคี้ยวแล้ว เขานำเครื่องบริวารของเคี้ยวนั้นมาด้วย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้ เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะตระกูล พวกคนในตระกูลนั้นนำของเคี้ยวของฉันมา ถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้ เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะหมู่บ้าน พวกคนในหมู่บ้านนั้นนำของเคี้ยวของฉัน มาถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้ เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะสมาคม พวกคนในสมาคมนั้นนำของเคี้ยวของฉัน มาถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้ ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ ที่ชื่อว่า ในอาราม ได้แก่ สำหรับอารามที่มีรั้วล้อม กำหนดเอาภายใน อาราม สำหรับอารามที่ไม่มีรั้วล้อม กำหนดเอาอุปจารอาราม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้สามารถไปบิณฑบาตฉันได้ ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้ไม่สามารถไปบิณฑบาตได้ ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ได้รับแจ้ง รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติ ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๗๔] ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยว หรือของฉันด้วยมือตนเองในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเอง ในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของ ฉันด้วยมือตนเองในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้องอาบัติ ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าได้รับแจ้งไว้ ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

บทสรุป

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๗๕] ๑. ภิกษุที่ได้รับแจ้งไว้ก่อน ๒. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๓. ภิกษุที่ได้รับแจ้งไว้หรือภิกษุฉันของเป็นเดน ของภิกษุผู้เป็นไข้ ๔. ภิกษุรับของนอกอารามมาฉันในอาราม ๕. ภิกษุฉันรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ที่เกิดในที่นั้น ๖. ภิกษุฉันของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมีเหตุจำเป็น ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๔๒-๖๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=133              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=15053&Z=15158                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=794              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=794&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10338              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=794&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10338                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pd4/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pd4/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :