ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑. จีวรวรรค
๒. อุทโทสิตสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ
(ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒)
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๔๗๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายฝากสังฆาฏิไว้กับ พวกภิกษุมีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบท สังฆาฏิเหล่านั้นเก็บ ไว้นานจึงขึ้นรา ภิกษุทั้งหลายจึงนำออกมาผึ่งแดด ท่านพระอานนท์เที่ยวไปตามเสนาสนะ เห็นภิกษุกำลังผึ่งสังฆาฏิอยู่จึงเข้าไป ถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ท่านทั้งหลาย สังฆาฏิที่ขึ้นราเหล่านี้เป็นของใคร” ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นให้พระอานนท์ทราบ ท่านพระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงฝาก สังฆาฏิไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบทเล่า” ครั้นท่านตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฝากสังฆาฏิไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสก ออกจาริกไปสู่ชนบท จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นจึง ฝากจีวรไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์และอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบทเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท พระบัญญัติ

เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ดังนี้แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๗๒] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๔๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้อยู่กรุงโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปสำนัก ของภิกษุนั้นให้แจ้งข่าวว่า “นิมนต์พระคุณท่านมาเถิด พวกเราจะอุปัฏฐาก” ภิกษุ ทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปเถิด พวกญาติจะอุปัฏฐากท่านเอง” ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่ พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร’ กระผมเป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมจะไม่ไป” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร เพื่อ ภิกษุผู้เป็นไข้” ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้
วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นไข้ไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๒ พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๓ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๔๗๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ ไม่สามารถนำไตร จีวรไปได้เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรถ้าสงฆ์พร้อมกัน แล้วพึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้ เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้สมมติเพื่อไม่เป็น การอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติเพื่อไม่ เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์ เห็นชอบ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๔๗๕] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุ ได้รับสมมติ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๖] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้แล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา เย็บเป็นจีวร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใดอย่าง หนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะภายในระหว่าง คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ความว่า ภิกษุอยู่ ปราศจากสังฆาฏิ อุตตราสงค์หรืออันตรวาสกผืนใดผืนหนึ่ง แม้คืนเดียว คำว่า เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ คำว่า ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ จีวรเป็นนิสสัคคีย์พร้อมกับอรุณขึ้น คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผม อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้ แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ ของกระผมอยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผม สละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมอยู่ปราศแล้ว ล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วพึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
มาติกา
[๔๗๗] หมู่บ้าน มีอุปจารเดียวกัน๑- หมู่บ้าน มีอุปจารแยกกัน เรือน มีอุปจารเดียวกัน เรือน มีอุปจารแยกกัน โรงเก็บของ มีอุปจารเดียวกัน โรงเก็บของ มีอุปจารแยกกัน ป้อม มีอุปจารเดียวกัน ป้อม มีอุปจารแยกกัน เรือนยอดเดียว มีอุปจารเดียวกัน เรือนยอดเดียว มีอุปจารแยกกัน ปราสาท มีอุปจารเดียวกัน ปราสาท มีอุปจารแยกกัน เรือนโล้น๒- มีอุปจารเดียวกัน เรือนโล้น มีอุปจารแยกกัน เรือ มีอุปจารเดียวกัน เรือ มีอุปจารแยกกัน หมู่เกวียน มีอุปจารเดียวกัน หมู่เกวียน มีอุปจารแยกกัน @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อุปจาร” คือที่ใกล้เคียงกันบริเวณรอบๆ ชานเช่นอุปจารเรือนคือบริเวณรอบๆ เรือนซึ่ง @กำหนดจุดที่อยู่นอกบริเวณชายคาของตัวเรือนออกไปถึงจุดที่แม่บ้านยืนอยู่ที่ประตูเรือนสาดน้ำล้างภาชนะ @ออกไปตก (วิ.อ. ๑/๙๒/๓๒๒) @ หัมมิยะ เรือนโล้น ได้แก่ ปราสาทหลังคาโล้น มีเรือนยอดตั้งอยู่ที่ดาดฟ้า มีชานชมแสงจันทร์ @(วิ.อ. ๒/๔๘๒-๔๘๗/๑๕๙, วิ.อ. ๓/๒๙๔/๓๑๙, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๗๑-๗๓/๒๘๕, วิมติ.ฏีกา ๒/๗๑-๗๓/๑๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

นา มีอุปจารเดียวกัน นา มีอุปจารแยกกัน ลานนวดข้าว มีอุปจารเดียวกัน ลานนวดข้าว มีอุปจารแยกกัน สวน มีอุปจารเดียวกัน สวน มีอุปจารแยกกัน วิหาร มีอุปจารเดียวกัน วิหาร มีอุปจารแยกกัน โคนไม้ มีอุปจารเดียวกัน โคนไม้ มีอุปจารแยกกัน ที่กลางแจ้ง มีอุปจารเดียวกัน ที่กลางแจ้ง มีอุปจารแยกกัน [๔๗๘] ที่ชื่อว่า หมู่บ้านมีอุปจารเดียวกัน คือ หมู่บ้านของตระกูลหนึ่งล้อม รั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในหมู่บ้าน แล้วพึงอยู่ภายในหมู่บ้าน ที่ชื่อว่า หมู่ บ้านมีอุปจารแยกกัน๑- คือ หมู่บ้านของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ใน เรือนที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส [๔๗๙] หมู่บ้านของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ในเรือนที่ ตนเก็บจีวรไว้ ในหอประชุมหรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส เมื่อไปหอประชุม ต้องเก็บจีวรไว้ในหัตถบาสแล้วอยู่ในหอประชุมหรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส ภิกษุเก็บจีวรในหอประชุมต้องอยู่ในหอประชุมหรือที่ริมประตูหรือไม่ละหัตถบาส หมู่บ้านไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในเรือนที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๐] เรือน ของตระกูลหนึ่งล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือน ต้องอยู่ภายในเรือน เรือนไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๑] เรือน ของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลาย ห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส เรือนไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส @เชิงอรรถ : @ หมู่บ้านที่จัดว่ามีอุปจารเดียวกัน ท่านกำหนดด้วยล้อมรั้วไว้ด้วยกัน, ที่จัดว่า มีอุปจารแยกกัน ท่าน @กำหนดด้วยไม่มีรั้วล้อม (ปริกฺขิตฺโตติ... เอตฺตาวตา เอกกุลคามสฺส เอกูปจารตา ทสฺสิตา. ฯเปฯ @อปริกฺขิตฺโตติ อิมินา ตสฺเสว คามสฺส นานูปจารตา ทสฺสิตา - วิ.อ. ๒/๔๗๘/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

[๔๘๒] โรงเก็บของ ของตระกูลหนึ่งล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็ก หลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในโรงเก็บของที่ตนเก็บจีวรไว้ โรงเก็บของไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องเก็บของที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละ หัตถบาส [๔๘๓] โรงเก็บของ ของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้อง เล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส โรงเก็บของไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๔] ป้อม ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในป้อมที่ตนเก็บจีวรไว้ ป้อมของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตน เก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตูหรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๕] เรือนยอดเดียว ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือนยอดเดียว ที่ตนเก็บจีวรไว้ เรือนยอดเดียวของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ใน ห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๖] ปราสาท ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ในปราสาทที่ตนเก็บจีวรไว้ ปราสาทของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๗] เรือนโล้น ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือนโล้นที่ตนเก็บ จีวรไว้ เรือนโล้นของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๘] เรือ ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือที่ตนเก็บจีวรไว้ เรือของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตน เก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

[๔๘๙] หมู่เกวียน ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องไม่ละอัพภันดร๑- ด้านหน้า หรือด้านหลัง ข้างละ ๗ อัพภันดร ด้านข้างด้านละ ๑ อัพภันดร หมู่เกวียนของต่างตระกูล ภิกษุเก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ต้องไม่ละหัตถบาส [๔๙๐] นา ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ภายในนาที่ ตนเก็บจีวรไว้ นาไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องไม่ละหัตถบาส นาของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในนา ต้องอยู่ที่ริม ประตูหรือไม่ละหัตถบาส นาที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส [๔๙๑] ลานนวดข้าว ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ ภายในลานนวดข้าวที่ตนเก็บจีวรไว้ ลานนวดข้าวของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ ละหัตถบาส ลานนวดข้าวของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในลาน นวดข้าว ต้องอยู่ที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส ลานนวดข้าวของต่างตระกูลไม่มีรั้ว ล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส [๔๙๒] สวน ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในสวน ต้องอยู่ภายในสวน สวนที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส สวนของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในสวน ต้องอยู่ ที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส สวนที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส [๔๙๓] วิหาร ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ในวิหาร ต้องอยู่ภายในวิหาร วิหารของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ต้องอยู่ในวิหารที่ตนเก็บจีวร ไว้หรือไม่ละหัตถบาส วิหารของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ในวิหารที่ตนเก็บจีวรไว้ หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส วิหารของต่างตระกูลไม่มีรั้วล้อม ต้องอยู่ในวิหาร ที่ตนเก็บจีวรไว้ หรือไม่ละหัตถบาส @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อัพภันดร” เป็นมาตราวัดในภาษามคธ เทียบเท่า ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา (เอตํ อพฺภนฺตรํ @อฏฺฐวีสติหตฺถํ โหติ - วิ.อ. ๒/๔๘๙/๑๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

[๔๙๔] โคนไม้ ของตระกูลหนึ่ง กำหนดเขตที่เงาแผ่ไปรอบๆ เวลาเที่ยงวัน ภิกษุเก็บจีวรภายในเขตเงา ต้องอยู่ในเขตเงา โคนไม้ของต่างตระกูล ต้องไม่ละหัตถบาส ที่ชื่อว่าที่กลางแจ้งมีอุปจารเดียวกัน คือ ป่าไม่มีบ้าน กำหนด ๗ อัพภันดร โดยรอบ เป็นอุปจารเดียว พ้นกำหนดนั้นเป็นอุปจารแยกกัน
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๔๙๕] จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้ รับสมมติ จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ได้สละให้ ภิกษุสำคัญว่าสละให้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ถูกโจรชิง ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท อนาปัตติวาร

ติกทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศแล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๙๖] ๑. ภิกษุผู้ถอนภายในอรุณ ๒. ภิกษุผู้สละให้ไป ๓. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหาย ๔. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหาย ๕. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้ ๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป ๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ ๘. ภิกษุได้รับสมมติ ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
อุทโทสิตสิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๙-๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=156&Z=382                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=10              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=10&items=22              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=3672              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=10&items=22              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=3672                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np2/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :