ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑. ปัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ปัตตวรรค
หมวดว่าด้วยบาตร
๑. ปัตตสิกขาบท
ว่าด้วยบาตร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการสะสม บาตรไว้เป็นอันมาก พวกชาวบ้านเดินเที่ยวตามวิหารเห็นเข้าจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงทำการสะสมบาตรไว้เป็นอันมาก จะขายบาตรหรือตั้งร้านขายภาชนะดินเผาหรือ” ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทรง อติเรกบาตร๑- เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธอทรงอติเรกบาตร จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงทรงอติเรกบาตรไว้เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ อติเรกบาตร คือบาตรนอกจากบาตรอธิฏฐานที่ภิกษุตั้งไว้เป็นบริขารใช้บิณฑบาตเพียงใบเดียว @(ดูข้อ ๖๐๒ หน้า ๑๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑. ปัตติสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

พระบัญญัติ
[๕๙๙] ก็ ภิกษุใดทรงอติเรกบาตร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องพระอานนท์
[๖๐๐] สมัยนั้น อติเรกบาตรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ ต้องการจะถวายอติเรกบาตรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่เมือง สาเกต ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงทรงอติเรกบาตร’ ก็อติเรกบาตรนี้เกิดขึ้นแก่เรา เรา ต้องการจะถวายท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ที่เมืองสาเกต เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร หนอ” จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อีกนานเพียงไร สารีบุตรจะกลับมา” พระอานนท์กราบทูลว่า “อีก ๙ หรือ ๑๐ วันจึงจะกลับมา พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงอนุญาตอติเรกบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็น อย่างมาก” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๖๐๑] ภิกษุพึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ให้เกิน กำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอานนท์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑. ปัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๖๐๒] คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก และบาตรดินเผา
ขนาดบาตร
บาตรมี ๓ ขนาด คือ (๑) บาตรขนาดใหญ่ (๒) บาตรขนาดกลาง (๓) บาตร ขนาดเล็ก ที่ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๒ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ หนึ่งส่วนสี่๑- จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น ที่ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๑ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ หนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น ที่ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกจากข้าวสารครึ่งทะนาน จุของเคี้ยวเศษหนึ่ง ส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น บาตรมีขนาดใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ บาตรมีขนาดเล็กกว่านั้นก็เป็น บาตรที่ใช้ไม่ได้ คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง อรุณวันที่ ๑๑ บาตรใบนั้น เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ คือเศษหนึ่งส่วนสี่ของข้าวสุก (วิ.อ. ๒/๖๐๒/๒๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑. ปัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บาตรใบนี้ของ กระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ แล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า [๖๐๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุชื่อนี้ เป็น นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
[๖๐๔] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บาตรใบนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่ ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า [๖๐๕] “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุ ชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
[๖๐๖] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ บาตรใบนี้ของกระผมเกิน กำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึง แสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนบาตรที่สละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมให้ บาตรใบนี้แก่ท่าน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑. ปัตติสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๐๗] บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ บาตรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ บาตรที่ยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรยังไม่แตก ภิกษุสำคัญว่าบาตรแตกแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ บาตรยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงเอาไป ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
บาตรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ใช้สอย ต้อง อาบัติทุกกฏ บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๑. ปัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๐๘] ๑. ภิกษุผู้อธิษฐานภายใน ๑๐ วัน ๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้ภายใน ๑๐ วัน ๓. ภิกษุผู้สละให้ไปภายใน ๑๐ วัน ๔. ภิกษุผู้มีบาตรสูญหายภายใน ๑๐ วัน ๕. ภิกษุผู้มีบาตรฉิบหายภายใน ๑๐ วัน ๖. ภิกษุผู้มีบาตรแตกภายใน ๑๐ วัน ๗. ภิกษุผู้มีบาตรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๑๐ วัน ๘. ภิกษุผู้มีบาตรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๑๐ วัน ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนบาตรที่มีผู้สละให้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุสละให้แล้ว จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืน ต้องอาบัติทุกกฏ”
ปัตตสิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=21              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=2945&Z=3080                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=117              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=117&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=5074              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=117&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=5074                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np21/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :