ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

๙. อกุสลมูลสูตร
ว่าด้วยรากเหง้าของอกุศล
[๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล(รากเหง้าของอกุศล) ๓ ประการนี้ อกุศลมูล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อกุศลมูล คือ โลภะ(ความอยากได้) ๒. อกุศลมูล คือ โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) ๓. อกุศลมูล คือ โมหะ(ความหลง) โลภะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโลภะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโลภะ ถูกโลภะครอบงำ มีจิตถูกโลภะกลุ้มรุม ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสีย ทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด มีโลภะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีโลภะนั้นด้วยประการฉะนี้ โทสะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโทสะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสีย ทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด มีโทสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีโทสะนั้นด้วยประการฉะนี้ โมหะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโมหะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด มีโมหะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่ผู้บุคคลผู้มีโมหะนั้นด้วยประการฉะนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

บุคคลเช่นนี้เรียกว่า อกาลวาที(กล่าวไม่ถูกเวลา)บ้าง อภูตวาที(กล่าวเรื่องไม่ จริง)บ้าง อนัตถวาที(กล่าวไม่อิงอรรถ)บ้าง อธัมมวาที(กล่าวไม่อิงธรรม)บ้าง อวินยวาที(กล่าวไม่อิงวินัย)บ้าง เพราะเหตุไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง อนัตถวาที บ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง เพราะบุคคลนี้ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียด เบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรง พลัง”บ้าง เขาเมื่อถูกว่ากล่าวด้วยเรื่องที่เป็นจริงก็ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ เมื่อถูกว่า กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง กลับไม่พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้ เรื่องนี้จึงไม่จริง ไม่แท้” ฉะนั้นบุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง อนัตถวาทีบ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล- ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วย่อมหวังได้ทุคติ๑- บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อที่ถูกเถาย่านทราย ๓ ชนิด๒- คลุมยอด พันรอบต้น ย่อมถึงความเสื่อม ถึงความพินาศ ถึงความฉิบหายฉันใด บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ @เชิงอรรถ : @ ทุคติ ในที่นี้หมายถึงทุคติ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๔) @ เถาย่านทราย ๓ ชนิด ในที่นี้ใช้เปรียบเทียบถึงอกุศลมูล ๓ ประการ (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้แล กุศลมูล(รากเหง้าแห่งกุศล) ๓ ประการนี้ กุศลมูล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กุศลมูล คือ อโลภะ(ความไม่อยากได้) ๒. กุศลมูล คือ อโทสะ(ความไม่คิดประทุษร้าย) ๓. กุศลมูล คือ อโมหะ(ความไม่หลง) อโลภะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโลภะทำทางกาย วาจา และใจจัด เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโลภะ ไม่ถูกโลภะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโลภะ กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็น กุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด มีอโลภะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโลภะนั้น ด้วยประการฉะนี้ อโทสะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโทสะทำทางกาย วาจา และใจจัด เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโทสะ ไม่ถูกโทสะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโทสะ กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นกุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นแดนเกิด มีอโทสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโทสะนั้นด้วย ประการฉะนี้ อโมหะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโมหะทำทางกาย วาจา และใจจัด เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโมหะ ไม่ถูกโมหะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโมหะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัด เป็นกุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด มีอโมหะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโมหะนั้นด้วย ประการฉะนี้ บุคคลเช่นนี้เรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง เพราะเหตุไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง เพราะบุคคลนี้ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการ เบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” เขาเมื่อถูกว่ากล่าวด้วยเรื่องที่เป็นจริงก็ยอมรับไม่ปฏิเสธ เมื่อถูกว่ากล่าว ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงก็พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้เรื่องนี้จึง ไม่จริง ไม่แท้” ฉะนั้นบุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโลภะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ ไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อม ปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโทสะ ฯลฯ ที่เกิดจากโมหะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อ ถูกเถาย่านทราย ๓ ชนิด คลุมยอดพันรอบต้น ทีนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามาตัดเครือเถาย่านทรายแล้ว ก็ขุดรอบๆ โคน ถอนรากขึ้นแม้กระทั่งเท่ารากหญ้าคา เขาหั่นเถาย่านทรายนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เป็นท่อนเล็กท่อนน้อยแล้วผ่าออกเอารวมกันเข้า ผึ่งที่ลมและแดดแล้วเอาไฟเผา ทำให้เป็นเขม่าแล้วโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว เถาย่านทรายเหล่า นั้นถูกบุรุษนั้นตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโลภะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ละได้ เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโทสะ ฯลฯ ที่เกิดจากโมหะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล ๓ ประการนี้แล
อกุสลมูลสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๗๕-๒๗๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=114              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=5320&Z=5420                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=509              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=509&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=4947              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=509&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=4947                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i501-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.069.than.html https://suttacentral.net/an3.69/en/sujato https://suttacentral.net/an3.69/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :