ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๐. จูฬนิกาสูตร
ว่าด้วยโลกธาตุขนาดเล็ก
[๘๑] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ใน พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้๑-’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ นั้นเป็นเพียงสาวก ส่วนตถาคตทั้งหลาย ประมาณไม่ได้” @เชิงอรรถ : @ ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้ ในที่นี้หมายถึงแสดงธรรมให้ได้ยินเสียง พร้อมกับเปล่งรัศมี @จากสรีระกำจัดความมืดเกิดแสงสว่างได้ไกลถึง ๑,๐๐๐ จักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ใน พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ นั้นเป็นเพียงสาวก ส่วนตถาคตทั้งหลาย ประมาณไม่ได้” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ใน พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอได้ฟังเพียงเรื่องสหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก๑- เท่านั้น” พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นเวลา ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นเวลาแห่งเทศนาที่พระองค์จะพึงตรัส ภิกษุทั้งหลายได้สดับพระธรรมเทศนาของ พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า อานนท์ สหัสสีโลกธาตุเท่าโอกาสที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรส่องทิศทั้ง หลายให้สว่างรุ่งโรจน์ ในสหัสสีโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง มีดวงอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง มีขุนเขาสิเนรุ ๑,๐๐๐ ลูก มีชมพูทวีป ๑,๐๐๐ มีอปรโคยานทวีป @เชิงอรรถ : @ สหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐ จักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร

๑,๐๐๐ มีอุตตรกุรุทวีป ๑,๐๐๐ มีปุพพวิเทหทวีป ๑,๐๐๐ มีมหาสมุทร ๔,๐๐๐ มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐๑- มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นยามา ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดุสิต ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นนิมมานรดี ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๑,๐๐๐ มีพรหมโลก ๑,๐๐๐ นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยโลกธาตุขนาดเล็กนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุขนาด กลาง๒- โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยสหัสสีโลกธาตุขนาดกลางนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุ ขนาดใหญ่๓- อานนท์ ตถาคตเมื่อมุ่งหมายพึงใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่ รู้เรื่องได้ หรือใช้เสียงประกาศให้รู้เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมาย พระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคพึงใช้พระ สุรเสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่รู้เรื่องได้หรือใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้ เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมาย อย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ พระตถาคตในโลกนี้พึงแผ่รัศมีไปทั่ว สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่ได้ เมื่อใด หมู่สัตว์พึงจำแสงสว่างนั้นได้ เมื่อนั้น พระ ตถาคตพึงเปล่งพระสุรเสียงให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน อานนท์ พระตถาคตพึงใช้ พระสุรเสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่รู้เรื่องได้หรือใช้พระสุรเสียง ประกาศให้รู้เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมายอย่างนี้แล” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลคำนี้ว่า “เป็นลาภของข้าพระองค์หนอ เป็นโชคของข้าพระองค์หนอที่ข้าพระองค์มีพระศาสดา ผู้ทรงมีฤทธิ์อย่างนี้ มีอานุภาพอย่างนี้” @เชิงอรรถ : @ มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐ ในที่นี้หมายถึงในโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐ จักรวาลนั้น แต่ละจักรวาลมีท้าวมหาราช @อยู่ ๔ องค์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) @ สหัสสีโลกธาตุขนาดกลาง หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐,๐๐๐ จักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) @ สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่ หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิจักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑. สมณสูตร

เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีจึงได้กล่าวกับท่าน พระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ถ้าพระศาสดาของท่านทรงมีฤทธิ์อย่างนี้ มีอานุภาพอย่างนี้ ในข้อนี้ท่านได้ประโยชน์อะไร” เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระอุทายี ดังนี้ว่า “อุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้นๆ ถ้าอานนท์ยังไม่หมดราคะมรณภาพไป อย่างนี้ไซร้ เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น เธอจะครอบครองความเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่ เทวดา ๗ ครั้ง จะครอบครองความเป็นมหาราชในชมพูทวีปนี้แล ๗ ครั้ง อุทายี แต่อานนท์จักปรินิพพานในปัจจุบันชาตินี้แล”
จูฬนิกาสูตรที่ ๑๐ จบ
อานันทวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ฉันนสูตร ๒. อาชีวกสูตร ๓. มหานามสักกสูตร ๔. นิคัณฐสูตร ๕. นิเวสกสูตร ๖. ปฐมภวสูตร ๗. ทุติยภวสูตร ๘. สีลัพพตสูตร ๙. คันธชาตสูตร ๑๐. จูฬนิกาสูตร


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๐๕-๓๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=125              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=5985&Z=6056                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=520              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=520&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5339              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=520&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5339                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i511-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an3.80/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :