ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๒. ปวิเวกสูตร
ว่าด้วยความสงัดจากกิเลส
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลส ไว้ ๓ ประการนี้ ความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยจีวร ๒. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต ๓. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยเสนาสนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร

บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ ประการนั้น ในความสงัดจากกิเลสเพราะ อาศัยจีวร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ คือ นุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้า แกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้าห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่มหนังเสือที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มผ้าคากรองบ้าง นุ่งห่ม ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยปีกนกเค้าบ้าง ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แล ในความสงัดจาก กิเลสเพราะอาศัยจีวร บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ นั้น ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้คือกินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างบ้าง อาหารบ้าง กินลูกเดือยเป็นอาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยาง๑- เป็น อาหารบ้าง กินรำบ้าง กินข้าวตังบ้าง กินกำยานบ้าง กินหญ้าบ้าง กินโคมัยบ้าง กิน รากและผลไม้ในป่าบ้าง กินผลไม้ที่หล่นเลี้ยงชีพอยู่ ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แลไว้ในความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ นั้น ในความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัย เสนาสนะ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ คือ ป่า โคนไม้ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง โรงลาน พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แลไว้ในความสงัด จากกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลสไว้ ๓ ประการนี้แล ส่วนความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ ของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ คำว่า ยาง (หฏะ) หมายรวมถึงสาหร่ายและยางไม้ด้วย (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร

๑. มีศีล๑- ละความเป็นคนทุศีล๒- และปราศจากโทษเครื่องทุศีลนั้น ๒. เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น ๓. เป็นขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย๓- และปราศจากอาสวะเหล่านั้น เพราะภิกษุเป็นผู้มีศีล ละความเป็นคนทุศีลและปราศจากความเป็นคนทุศีลนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น และเป็นขีณาสพ ละอาสวะ ทั้งหลายและปราศจากอาสวะเหล่านั้น ฉะนั้นภิกษุนี้จึงเรียกว่า “ผู้เลิศด้วยศีล ถึงธรรมที่เป็นสาระ บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ๔-” เปรียบเหมือนนาข้าวสาลีของคหบดีชาวนา สมบูรณ์แล้ว คหบดีชาวนาพึงใช้ คนให้รีบเก็บเกี่ยวข้าวสาลีนั้น ให้รีบรวบรวมไว้ ให้รีบขนเอาไปเข้าลาน ให้รีบทำเป็น ลอมไว้ ให้รีบนวด ให้รีบเอาฟางออก ให้รีบเอาข้าวลีบออก ให้รีบฝัดข้าว ให้รีบขนไป ให้รีบซ้อม ให้รีบเอาแกลบออก ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าวเปลือกเหล่านั้น ของคหบดีชาวนานั้นพึงถึงความเป็นส่วนอันเลิศ เป็นข้าวสารสะอาด คงอยู่ในความ เป็นข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะเป็นผู้มีศีล ละความเป็นคนทุศีลและปราศ จากความเป็นคนทุศีลนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น และเป็นขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลายและปราศจากอาสวะเหล่านั้น ฉะนั้นภิกษุนี้จึง เรียกว่า “ผู้เลิศด้วยศีล ถึงธรรมที่เป็นสาระ บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ”
ปวิเวกสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ มีศีล ในที่นี้หมายถึงประกอบกิจด้วยปาริสุทธิศีล ๔ ประการ คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความ @สำรวมในพระปาติโมกข์ (๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล @ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ (๔) ปัจจยสันนิสสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับการพิจารณาในการใช้สอยปัจจัย ๔ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๔๘) @ ความเป็นคนทุศีล ในที่นี้หมายถึงการประพฤติล่วงละเมิดเบญจศีลมีปาณาติบาตเป็นต้น @(องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๙๔/๒๔๘) @ อาสวะ หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๘๔) @ ธรรมที่เป็นสาระ ในที่นี้หมายถึงศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๒๕-๓๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=138              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6364&Z=6408                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=533              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=533&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5742              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=533&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5742                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i532-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an3.93/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :