ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๓. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาล
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๒. คนที่ไม่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ คนพาล ๒ จำพวกนี้แล บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๒. คนที่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๑) [๒๓] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

๑. คนเจ้าโทสะที่มีความโหดร้ายอยู่ภายใน ๒. คนที่เชื่อโดยยึดถือผิด คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๒) [๒๔] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต ได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต ไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกนี้ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต ไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๓) [๒๕] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะมีการขยาย ความแล้ว” ๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่ควร ขยายความ” คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

[๒๖] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะควรขยายความ” ๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่มี การขยายความแล้ว” คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๕)
คติและฐานะ ๒ อย่างเป็นต้น
[๒๗] ผู้มีการงานปกปิดไว้๑- พึงหวังได้๒- คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ผู้มีการงานไม่ปกปิดไว้พึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์ (๖) [๒๘] ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (๗) [๒๙] ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือ มนุษย์ (๘) [๓๐] สถานที่รองรับคนทุศีล ๒ แห่ง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน สถานที่รองรับคนมีศีล ๒ แห่ง คือ เทวดาหรือมนุษย์ (๙) [๓๑] เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์๓- ๒ ประการจึงอาศัยเสนาสนะอัน เงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ๔- @เชิงอรรถ : @ การงานที่ปกปิดไว้ หมายถึงบาปกรรม แท้จริง ขึ้นชื่อว่าบาป บุคคลจะทำอย่างปกปิดหรือไม่ปกปิด @ก็ตาม ก็ชื่อว่าบาปกรรมที่ปกปิดไว้ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๗/๒๙) @ พึงหวังได้ ในที่นี้หมายถึงจำต้องปรารถนา จำต้องมีแน่นอน หรือจำต้องบังเกิดในคตินั้นๆ แน่นอน @(องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๔) @ อำนาจประโยชน์ หมายถึงเหตุทั้งหลาย (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) @ ป่าโปร่ง (อรญฺญ) หมายถึงป่าอยู่นอกเสาหลักเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู ป่าทึบ (วนปตฺถ) @หมายถึงสถานที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยเลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน๑- ๒. อนุเคราะห์คนรุ่นหลัง เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แลจึงอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ (๑๐) [๓๒] ธรรม ๒ ประการนี้เป็นฝ่ายวิชชา ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง) สมถะที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร คือ ย่อมให้จิตเจริญ จิต๒- ที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร คือ ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร คือ ย่อมให้ปัญญาเจริญ ปัญญาที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร คือ ย่อมละอวิชชาได้ จิตที่เศร้าหมองเพราะราคะย่อมไม่หลุดพ้น ปัญญา๓- ที่เศร้าหมองเพราะอวิชชา ย่อมไม่เจริญ เพราะสำรอกราคะจึงมีเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา จึงมีปัญญาวิมุตติ (๑๑)
พาลวรรคที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ เห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน หมายถึงการอยู่ผาสุกอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) @ จิต ในที่นี้หมายถึงมรรคจิต คือจิตในขณะแห่งมรรค (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๒/๓๐) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมรรคปัญญา คือปัญญาในขณะแห่งมรรค (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๒/๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๗๓-๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=1564&Z=1616                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=267              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=267&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=635              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=267&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=635                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i267-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.021.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.023.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.025.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.030.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/02/an02-032.html https://suttacentral.net/an2.21-31/en/sujato https://suttacentral.net/an2.21-31/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :