ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๓. จินตีสูตร
ว่าด้วยความคิดระหว่างคนพาลกับบัณฑิต
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายแห่งคนพาล ๓ ประการนี้ ลักษณะแห่งคนพาล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ คนพาลในโลกนี้ ๑. ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว๑- ๒. ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว๒- ๓. ชอบทำแต่กรรมชั่ว๓- @เชิงอรรถ : @ ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว หมายถึงประกอบมโนทุจริต ๓ ประการ คือ (๑) อภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) @(๒) พยาบาท(ความคิดร้าย) (๓) มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓/๗๙) @ ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว หมายถึงประกอบวจีทุจริต ๔ ประการ คือ (๑) มุสาวาท(พูดเท็จ) (๒) ปิสุณาวาจา @(พูดส่อเสียด) (๓) ผรุสวาจา(พูดคำหยาบ) (๔) สัมผัปปลาปะ(พูดเพ้อเจ้อ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓/๗๙) @ ชอบทำแต่กรรมชั่ว หมายถึงประกอบกายทุจริต ๓ ประการ คือ (๑) ปาณาติบาต(ฆ่าสัตว์) (๒) อทินนาทาน @(ลักทรัพย์) (๓) กาเมสุมิจฉาจาร(ความประพฤติผิดในกาม) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓/๗๙, องฺ.ทสก. ๒๔/๑๗๑/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. พาลวรรค ๓. จินตีสูตร

ถ้าคนพาลไม่ชอบคิดเรื่องชั่ว ไม่ชอบพูดเรื่องชั่ว ไม่ชอบทำกรรมชั่วเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี” แต่เพราะ คนพาลชอบคิดแต่เรื่องชั่ว ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว และชอบทำแต่กรรมชั่ว ฉะนั้นบัณฑิต ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี” ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง คนพาล ๓ ประการนี้แล ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง บัณฑิต ๓ ประการนี้ ลักษณะแห่งบัณฑิต ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ บัณฑิตในโลกนี้ ๑. ชอบคิดแต่เรื่องดี ๒. ชอบพูดแต่เรื่องดี ๓. ชอบทำแต่กรรมดี ถ้าบัณฑิตไม่ชอบคิดเรื่องดี ไม่ชอบพูดเรื่องดี และไม่ชอบทำกรรมดีเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี” แต่เพราะ บัณฑิตชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี และชอบทำแต่กรรมดี ฉะนั้นบัณฑิต ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี” ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง บัณฑิต ๓ ประการนี้แล เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
จินตีสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๔๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๔๑-๑๔๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=47              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2668&Z=2689                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=442              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=442&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1747              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=442&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1747                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i440-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an3.3/en/sujato https://suttacentral.net/an3.3/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :