ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๔. จักกวัตติสูตร

๔. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยความเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและพระพุทธเจ้า
[๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ทรงให้จักรที่มิใช่ของพระราชาหมุนไป” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระ ภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ธรรม๑- เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรง ธรรม เป็นธรรมราชา” แล้วตรัสต่อไปว่า ๑. พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัย ธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง ชนภายใน๒- โดยธรรม ๒. พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองพวกกษัตริย์ ผู้ตามเสด็จ กำลังพล พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท สมณพราหมณ์ สัตว์จำพวกเนื้อ และนกโดยธรรม ๓. พระเจ้าจักรพรรดินั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรม เท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง ชนภายใน พวกกษัตริย์ ... กำลังพล ... พราหมณ์ คหบดี ... ชาวนิคม @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ จัดเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๗) @ ชนภายใน ในที่นี้หมายถึงมเหสี พระราชโอรส และพระราชธิดา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๔. จักกวัตติสูตร

ชาวชนบท ... สมณพราหมณ์ ... สัตว์จำพวกเนื้อ และนกโดยธรรม แล้วจึงให้จักรหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักร๑- นั้นใครๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิต ให้หมุนกลับไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา๒- ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ คุ้มครองกายกรรมโดยธรรมว่า “กายกรรมเช่นนี้ควรเสพ๓- กายกรรม เช่นนี้ไม่ควรเสพ” ๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ คุ้มครองวจีกรรมโดยธรรมว่า “วจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรมเช่นนี้ ไม่ควรเสพ” ๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ คุ้มครองมโนกรรมโดยธรรมว่า “มโนกรรมเช่นนี้ควรเสพ มโนกรรม เช่นนี้ไม่ควรเสพ” พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม @เชิงอรรถ : @ จักร ในที่นี้หมายถึงอาณาจักรที่พระเจ้าจักรพรรดิให้หมุนไปด้วยธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ @อันใครๆ จะให้หมุนกลับโดยไม่ให้มีกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการไม่ได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘) @ ธรรมราชา เป็นพระนามของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึงพระผู้ทรงให้มหาชนยินดีด้วย @โลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) ดูประกอบใน องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘ @ คำว่า เสพ ดูเชิงอรรถที่ ๑ อัจฉราสังฆาตวรรค ข้อ ๕๓ เอกกนิบาต หน้า ๑๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร

ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมโดยธรรมแล้วจึงทรงให้ธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมหมุนไปโดย ธรรมเท่านั้น จักร๑- นั้นอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้
จักกวัตติสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปเจตนสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเจตนะรับสั่งให้ช่างทำล้อรถ
[๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ปเจตนะ ครั้งนั้น พระเจ้าปเจตนะรับสั่งเรียกนายช่างรถมาตรัสว่า “นายช่างรถสหายรัก นับแต่นี้ไปอีก ๖ เดือน ฉันจะทำสงคราม ท่านจะสามารถทำล้อคู่ใหม่ให้ฉัน ได้ไหม” นายช่างรถทูลว่า “สามารถ พระเจ้าข้า” ลำดับนั้น นายช่างรถทำล้อข้างหนึ่งสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน พระเจ้าปเจตนะรับสั่งเรียกนายช่างรถมาตรัสว่า “นายช่างรถสหายรัก นับ จากนี้ไป ๖ วัน ฉันจะทำสงคราม ล้อคู่ใหม่ทำสำเร็จแล้วหรือ” นายช่างรถทูลว่า “ล้อข้างหนึ่งทำสำเร็จแล้วโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน พระเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ จักร ในที่นี้หมายถึงธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่พระพุทธองค์ทรงให้หมุนไปโดยนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ @อันใครๆ ไม่สามารถให้หมุนกลับได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๕๔-๑๕๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=58              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2876&Z=2918                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=453              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=453&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1926              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=453&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1926                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i450-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an3.14/en/sujato https://suttacentral.net/an3.14/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :