ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๒. อานันทสูตร

๒. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาค
[๓๒] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ๑- (การถือว่า เป็นเรา) มมังการ๒- (การถือว่าเป็นของเรา) และมานานุสัย(กิเลสนอนเนื่องคือความ ถือตัว) ทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง๓- และการที่ภิกษุผู้เข้าถึง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ พึงมีได้หรือหนอ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมี อหังการ มมังการและมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอก ทั้งปวง และการที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และ มานานุสัยอยู่ พึงมีได้” ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง และ การที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อยู่ พึงมีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาตรัสตอบว่า อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ธรรมชาตินั่นสงบ นั่นประณีต คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน’ อานนท์ การที่ภิกษุ ได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง และการที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มี อหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ พึงมีได้อย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ อหังการ หมายถึงทิฏฐิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ มมังการ หมายถึงตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ นิมิตภายนอกทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๓. สารีปุตตสูตร

อานนท์ เราหมายเอาเช่นนี้จึงกล่าวไว้ในปุณณกปัญหาในปารายนวรรค ดังนี้ว่า บุคคลใดรู้อัตภาพของผู้อื่นและของตนในโลก ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหวในโลกไหนๆ เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ไม่มีกิเลสทำให้จิตมัวหมอง ไม่มีกิเลสกระทบจิต ไม่มีความทะเยอทะยาน ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้ว
อานันทสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=76              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3482&Z=3511                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=471              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=471&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2536              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=471&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2536                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i470-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an3.32/en/sujato https://suttacentral.net/an3.32/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :