ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๑. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมหาโจร
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ มหาโจรในโลกนี้ ๑. อาศัยที่ขรุขระ ๒. อาศัยป่ารก ๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๑๑. มหาโจรสูตร

มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำหรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจร อาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างนี้แล มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยป่ารกด้วยหญ้าบ้าง ป่ารกด้วยต้นไม้บ้าง ป่าที่มี แนวป้องกันบ้าง แนวป่าใหญ่บ้าง มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างนี้แล มหาโจรอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เขาคิด อย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครกล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น พระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเขา มหาโจรอาศัยผู้ มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นประการนี้แล ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการ ปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง ฉันใด ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารตนให้ ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น อันมาก ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ ๑. อาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา ๒. อาศัยกรรมที่เร้นลับ ๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ ไม่ตรงไปตรงมา ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ๑- ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ภิกษุนั้นคิดอย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระ ราชาเหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น พระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเธอ ภิกษุชั่วอาศัยผู้ มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
มหาโจรสูตรที่ ๑๑ จบ
จูฬวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัมมุขีภาวสูตร ๒. ติฐานสูตร ๓. อัตถวสสูตร ๔. กถาปวัตติสูตร ๕. ปัณฑิตสูตร ๖. สีลวันตสูตร ๗. สังขตลักขณสูตร ๘. อสังขตลักขณสูตร ๙. ปัพพตราชสูตร ๑๐. อาตัปปกรณียสูตร ๑๑. มหาโจรสูตร
ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ อันตคาหิกทิฏฐิ หมายถึงความเห็นผิดแล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง มี ๑๐ ประการ คือเห็นว่า (๑) โลก @เที่ยง (๒) โลกไม่เที่ยง (๓) โลกมีที่สุด (๔) โลกไม่มีที่สุด (๕) ชีวะกับสรีระ เป็นอย่างเดียวกัน (๖) ชีวะกับ @สรีระเป็นคนละอย่าง (๗) หลังจากตายไปตถาคตเกิดอีก (๘) หลังจากตายไปตถาคตไม่เกิดอีก (๙) หลัง @จากตายไปตถาคตเกิดอีกก็ใช่ ไม่เกิดอีกก็ใช่ (๑๐) หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ @(องฺ.ทสก. ๒๔/๙๓/๑๔๙, องฺ.ติก.อ. ๒/๕๑/๑๕๖) ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (Soul) @(ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙) ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา @(อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายหมายถึงสัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๑๑-๒๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=95              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3984&Z=4030                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=490              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=490&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=3556              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=490&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=3556                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i480-e.php#sutta11 https://suttacentral.net/an3.50/en/sujato https://suttacentral.net/an3.50/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :