ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร

๑๐. โยคสูตร
ว่าด้วยโยคะ
[๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โยคะ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพ) ๔ ประการนี้ โยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามโยคะ ๒. ภวโยคะ ๓. ทิฏฐิโยคะ ๔. อวิชชาโยคะ กามโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ๑- โทษ๒- และ เครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัด เพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่น เพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความติดเพราะกาม ความอยากเพราะกามย่อมเกิดขึ้นในกามทั้งหลาย๓- นี้เรียกว่า กามโยคะ กามโยคะ เป็นอย่างนี้ ภวโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ ภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความติด เพราะภพ ความอยาก เพราะภพย่อมเกิดขึ้นในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภวโยคะ กามโยคะและภวโยคะ เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ คุณ (อสฺสาท) หมายถึงสภาวะที่อร่อย หรือสภาวะที่สุขกายและสุขใจที่เกี่ยวข้องกามคุณ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) @ โทษ (อาทีนว) หมายถึงสภาวะที่ไม่อร่อย มีทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งมีกามเป็นเหตุ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) @ กาม ในที่นี้หมายถึงวัตถุกาม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร

ทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ ทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฏฐิ ความกระหายเพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ความติดเพราะทิฏฐิ ความ อยากเพราะทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นในทิฏฐิทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ และทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างนี้ อวิชชาโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไป ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ย่อมเกิดขึ้นในผัสสายตนะ ๖ ประการ นี้เรียกว่า อวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นอย่างนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยบาปอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพ ใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ผู้ไม่มีความเกษม(ปลอด)จากโยคะ๑- ภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้ ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความพรากจากกามโยคะ ๒. ความพรากจากภวโยคะ ๓. ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๔. ความพรากจากอวิชชาโยคะ ความพรากจากกามโยคะ เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ผู้ไม่มีความเกษมจากโยคะ ในที่นี้หมายถึงผู้ยังละโยคะไม่ได้ เพราะยังไม่ได้บรรลุนิพพานจากโยคะ ๔ @ประการ (คือ (๑) กามโยคะ โยคะคือกาม (๒) ภวโยคะ โยคะคือภพ (๓) ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฏฐิ @(๔) อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘-๒๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ กาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความติดเพราะกาม ความอยาก เพราะกามย่อมไม่เกิดขึ้นในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากกามโยคะ เป็นอย่างนี้ ความพรากจากภวโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ ภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความติดเพราะภพ ความอยาก เพราะภพย่อมไม่เกิดขึ้นในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากกามโยคะและความพรากจากภวโยคะ เป็นอย่างนี้ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ ทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฏฐิ ความกระหายเพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ความติดเพราะทิฏฐิ ความอยาก เพราะทิฏฐิย่อมไม่เกิดขึ้นในทิฏฐิทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ และความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างนี้ ความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ย่อมไม่เกิดขึ้นในผัสสายตนะ ๖ ประการ นี้เรียกว่า ความพรากจากอวิชชาโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ และความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นอย่างนี้ บุคคลผู้พรากจากบาปอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก เพราะเหตุ นั้น จึงเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ ถึงชาติและมรณะอยู่เป็นประจำ ย่อมไปสู่สังสารวัฏ ส่วนสัตว์เหล่าใดกำหนดรู้กามโยคะ และภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนทิฏฐิโยคะและคลายอวิชชาออกได้ สัตว์เหล่านั้นแลย่อมพรากจากโยคะทั้งปวง ล่วงพ้นโยคะ เป็นมุนี๑-
โยคสูตรที่ ๑๐ จบ
ภัณฑคามวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนุพุทธสูตร ๒. ปปติตสูตร ๓. ปฐมขตสูตร ๔. ทุติยขตสูตร ๕. อนุโสตสูตร ๖. อัปปัสสุตสูตร ๗. โสภณสูตร ๘. เวสารัชชสูตร ๙. ตัณหุปปาทสูตร ๑๐. โยคสูตร @เชิงอรรถ : @ มุนี ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๖-๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=221&Z=305                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=10              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=10&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6658              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=10&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6658                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e.php#sutta10 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e2.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.010.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.010.niza.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/04/an04-010.html https://suttacentral.net/an4.10/en/sujato https://suttacentral.net/an4.10/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :