ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๓. ปธานสูตร
ว่าด้วยสัมมัปปธาน
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ ประการนี้ สัมมัปปธาน ๔ ประการ๒- อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น @เชิงอรรถ : @ ธรรมขันธ์ ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒/๒๙๑) @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๖/๑๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. จรวรรค ๔. สังวรสูตร

๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้แล พระขีณาสพเหล่านั้นมีสัมมัปปธาน ครอบงำบ่วงมาร๑- ได้ อันกิเลสไม่อาศัย ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ ท่านเหล่านั้นชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร เป็นผู้ยินดี ไม่มีความหวั่นไหว และล่วงพ้นซึ่งกองพลมารทั้งหมด ถึงสุข๒- แล้ว
ปธานสูตรที่ ๓ จบ
๔. สังวรสูตร
ว่าด้วยสังวรปธาน
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ ประการนี้ ปธาน ๔ ประการ๓- อะไรบ้าง คือ ๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) ๒. ปหานปธาน (เพียรละ) ๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา) @เชิงอรรถ : @ บ่วงมารในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ (๑) กิเลสวัฏฏะ (๒) กัมมวัฏฏะ (๓) วิปากวัฏฏะ ที่เรียกว่าบ่วงมาร @เพราะเป็นเหตุให้เกิดกิเลสมาร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓/๒๙๑, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๓/๒๙๘) @ สุข ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรสุข (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓/๒๙๒) @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๐/๓๐๑-๓๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๓-๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=372&Z=388                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=13              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=13&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6737              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=13&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6737                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i011-e.php#sutta3 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i011-e2.php#sutta3 http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/04/an04-013.html https://suttacentral.net/an4.13/en/sujato https://suttacentral.net/an4.13/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :