ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๓. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมหาโจร๓-
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ มหาโจรในโลกนี้ ๑. อาศัยที่ขรุขระ ๒. อาศัยป่ารก ๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล ๔. แจกจ่ายโภคทรัพย์ ๕. เที่ยวไปคนเดียว มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำ หรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจรอาศัยที่ขรุขระเป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ สาวเทื้อ หมายถึงสาวแก่ (มหลฺลิกกุมารี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖) @ บัณเฑาะก์ หมายถึงขันที ชายที่ถูกตอน พจนานุกรมบาลีสันกฤต แปลว่า กะเทย มี ๓ จำพวก คือ @บัณเฑาะก์ที่เป็นมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นอมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๖/๔๓ @ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๑/๒๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. ผาสุวิหารวรรค ๓. มหาโจรสูตร

มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยป่ารกด้วยหญ้าบ้าง ป่ารกด้วยต้นไม้บ้าง ป่าที่มี แนวป้องกันบ้าง แนวป่าใหญ่บ้าง มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างนี้แล มหาโจรอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เขาคิด อย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เหล่านี้ ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา’ ถ้าใครกล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น พระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น ต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเขา มหาโจรอาศัย ผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล มหาโจรแจกจ่ายโภคทรัพย์ เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา เราก็จักจ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น’ ถ้าใคร กล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น เขาก็จ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น มหาโจรแจกจ่าย โภคทรัพย์ เป็นอย่างนี้แล มหาโจรเที่ยวไปคนเดียว เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้เป็นผู้ทำโจรกรรมคนเดียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขา ย่อมปรารถนาว่า ‘เรื่องลับของเราอย่าได้แพร่งพรายออกไปภายนอก’ มหาโจรเที่ยว ไปคนเดียว เป็นอย่างนี้แล มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ๑- สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก @เชิงอรรถ : @ ประสพ (ปสวติ) ในที่นี้หมายถึงได้ผลสะท้อนหรือผลย้อนกลับ(ปฏิลภติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๑/๑๔๘, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔/๒๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. ผาสุวิหารวรรค ๓. มหาโจรสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ ๑. อาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา ๒. อาศัยที่เร้นลับ ๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล ๔. แจกจ่ายโภคทรัพย์ ๕. เที่ยวไปรูปเดียว ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ประกอบกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ไม่ตรงไป ตรงมา ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ๑- ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ภิกษุนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของ พระราชาเหล่านี้ ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา’ ถ้าใครว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น ต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเธอ ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ อันตคาหิกทิฏฐิ หมายถึงความเห็นผิดแล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง มี ๑๐ ประการ คือ เห็นว่า (๑) โลก @เที่ยง (๒) โลกไม่เที่ยง (๓) โลกมีที่สุด (๔) โลกไม่มีที่สุด (๕) ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน (๖) ชีวะ @กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน (๗) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก (๘) หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก @(๙) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี (๑๐) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ @ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ (องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๓/๒๑๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๗๒/๖๒๑, องฺ.ติก.อ. ๒/๕๑/๑๕๖) @ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรือ อาตมัน (Soul) (ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙) @ตถาคต ในที่นี้ เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใชักันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึง @พระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่าหมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. ผาสุวิหารวรรค ๔. สมณสุขุมาลสูตร

ภิกษุชั่วแจกจ่ายโภคทรัพย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา เราจักแจกจ่ายลาภ กลบเกลื่อนเรื่องนั้น’ ถ้าใครกล่าวหาอะไรเธอ เธอก็แจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ภิกษุชั่วแจกจ่ายโภคทรัพย์ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุชั่วเที่ยวไปรูปเดียว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อยู่ที่ชนบทชายแดนรูปเดียว เธอเข้าไปสู่ตระกูลใน ชนบทนั้นย่อมได้ลาภ ภิกษุชั่วเที่ยวไปรูปเดียวเป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน ให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก
มหาโจรสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๗๗-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=103              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=2950&Z=3002                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=103              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=103&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1041              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=103&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1041                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i101-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an5.103/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :