ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. คิลานวรรค ๑. คิลานสูตร

๓. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมสำหรับภิกษุไข้
๑. คิลานสูตร
ว่าด้วยธรรมสำหรับภิกษุไข้
[๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา๑- ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี๒- ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เสด็จ เข้าไปที่ศาลาบำรุงภิกษุไข้ ได้ทรงเห็นภิกษุรูปหนึ่งผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้ แล้วประทับ นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้ เธอพึงหวังได้ผลนี้คือ ‘ไม่นานนักจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่ ๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร ๓. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง @เชิงอรรถ : @ กูฏาคารศาลา (ศาลาเรือนยอด) หมายถึงพระคันธกุฎีของพระผู้มีพระภาคที่พรั่งพร้อมด้วยศิลปะ ถูกสร้าง @หลังคาทรงกลมงามสง่าคล้ายหงส์ มีเรือนยอดกล่าวคือเรือนที่มีหลังคาทรงสูงอยู่ภายในอีกชั้นหนึ่ง @(วิ.อ. ๑/๑๖๒/๔๓๐, ขุ.อุ.อ. ๒๓/๑๙๔) @ ที่ชื่อว่า เวสาลี เพราะเป็นเมืองที่กว้างใหญ่ไพศาล มีการสร้างกำแพงรอบเมืองถึง ๓ ชั้น เมืองนี้เจริญ @รุ่งเรืองมากในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ (วิ.อ. ๑/๑๖๒/๔๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. คิลานวรรค ๒. สติสุปัฏฐิตสูตร

๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญา(กำหนดหมายความตาย)ไว้ในภายใน ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้ เธอพึงหวังได้ผลนี้คือ ‘ไม่นานนักจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
คิลานสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=121              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3320&Z=3336                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=121              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=121&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=121&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i121-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.121.than.html https://suttacentral.net/an5.121/en/sujato https://suttacentral.net/an5.121/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :