ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. ปฐมปัตถนาสูตร
ว่าด้วยความปรารถนา สูตรที่ ๑
[๑๓๕] ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธา- ภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมปรารถนาราชสมบัติ องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ ๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ อ้างถึงชาติตระกูล ๒. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก๑- ๓. เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา ๔. เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท ๕. เป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีในศิลปศาสตร์แห่งกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธา- ภิเษกแล้ว เช่น ศิลปศาสตร์เรื่องช้าง ม้า รถ ธนู หรือดาบ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น ทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า ‘เรามีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่าย พระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใคร @เชิงอรรถ : @ ฉวีวรรณผุดผ่อง หมายถึงมีผิวพรรณดีและมีทรวดทรงดี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๕/๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๕. ปฐมปัตถนาสูตร

จะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ไฉนเราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า เราเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไฉนเราจะไม่ปรารถนา ราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะ ไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รักเป็นที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท ไฉน เราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า เราเป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีในศิลปศาสตร์ของ กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว เช่นศิลปศาสตร์เรื่องช้าง ม้า รถ ธนู หรือดาบ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า’ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วย องค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาราชสมบัติ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ปรารถนาความสิ้น อาสวะ ฉันนั้น เหมือนกัน ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ ผู้มีพระภาค’ ๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การ บำเพ็ญเพียร ๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง หลายอยู่ ๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น ทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๖. ทุติยปัตถนาสูตร

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีอาพาธ น้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้น อาสวะเล่า เราเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะ เล่า เราเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ไฉนเราจะไม่ ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น ทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความ สิ้นอาสวะ
ปฐมปัตถนาสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๑๘-๒๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=135              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3573&Z=3620                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=135              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=135&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1182              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=135&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1182                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i131-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an5.135/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :