ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. สัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยสัปปุริสทาน
[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ สัปปุริสทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ให้ทานด้วยศรัทธา ๒. ให้ทานโดยเคารพ @เชิงอรรถ : @ ให้โดยเคารพ หมายถึงให้โดยเคารพทั้งในไทยธรรมและในพระทักขิไณยบุคคล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗) @ เห็นผลที่จะพึงมาถึงจึงให้ หมายถึงเชื่อกรรมและผลของกรรมแล้วให้ทานด้วยคิดว่า “ทานนี้จักเป็นปัจจัย @แห่งความมีในอนาคต” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๘. สัปปุริสทานสูตร

๓. ให้ทานตามกาลอันควร ๔. เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน ๕. ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น๑- ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนักในที่ ที่ทานนั้นเผล็ดผล ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และ เป็นผู้ที่บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ และกรรมกรตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้ ครั้นให้ทานตามกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีความปรารถนาที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ มาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้นในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ มาก และเป็นผู้มีโภคทรัพย์ ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหนๆ คือ จากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล
สัปปุริสทานสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น หมายถึงให้ทานโดยไม่ลบหลู่คุณของตนและผู้อื่น @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๘/๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๔๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๔๔-๒๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=148              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=4024&Z=4041                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=148              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=148&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1296              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=148&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1296                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i141-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.148.than.html https://suttacentral.net/an5.148/en/sujato https://suttacentral.net/an5.148/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :