ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. อาฆาตวรรค ๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร

๒. อาฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยอาฆาต๑-
๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต สูตรที่ ๑
[๑๖๑] ภิกษุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้ เป็นเครื่องกำจัด อาฆาตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุพึงเจริญเมตตาในบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต๒- ภิกษุพึงกำจัดอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างนี้ ๒. ภิกษุพึงเจริญกรุณาในบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต ภิกษุพึงกำจัดอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างนี้ ๓. ภิกษุพึงเจริญอุเบกขาในบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต ภิกษุพึงกำจัดอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างนี้ ๔. ภิกษุไม่พึงระลึกถึง ไม่พึงมนสิการถึงบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต ภิกษุ พึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ ๕. ภิกษุพึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนให้มั่นในบุคคลผู้ที่ตน เกิดอาฆาตนั้น ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับ ผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม @เชิงอรรถ : @ อาฆาต หมายถึงความโกรธเคือง (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๙/๓๐๗) @ เมตตาและกรุณา ต้องเจริญด้วยฌานที่ ๓ และฌานที่ ๔ ส่วนอุเบกขา ต้องเจริญด้วยฌานที่ ๔ และฌานที่ ๕ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๑/๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร

เป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้น อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้แล เป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง
ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๖๕-๒๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=161              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=4329&Z=4341                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=161              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=161&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1356              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=161&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1356                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i161-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.161.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.161.nymo.html https://suttacentral.net/an5.161/en/sujato https://suttacentral.net/an5.161/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :