ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. วัสสสูตร
ว่าด้วยอันตรายของฝน
[๑๙๗] ภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง อันตราย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เตโชธาตุ๑- กำเริบบนอากาศ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะ เตโชธาตุที่กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนประการที่ ๑ ซึ่งพวก หมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง ๒. วาโยธาตุกำเริบบนอากาศ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะ วาโยธาตุที่กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนประการที่ ๒ ซึ่งพวก หมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง ๓. อสุรินทราหูใช้ฝ่ามือรับน้ำแล้วทิ้งลงในมหาสมุทร นี้เป็นอันตราย ของฝนประการที่ ๓ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง @เชิงอรรถ : @ เตโชธาตุ ในที่นี้หมายถึงกองไฟใหญ่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๗/๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. พราหมณวรรค ๘. วาจาสูตร

๔. วัสสวลาหกเทพบุตรเป็นผู้ประมาท๑- นี้เป็นอันตรายของฝนประการ ที่ ๔ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง ๕. พวกมนุษย์เป็นผู้ไม่ดำรงอยู่ในธรรม นี้เป็นอันตรายของฝนประการ ที่ ๕ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง ภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้แล ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตา ของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
วัสสสูตรที่ ๗ จบ
๘. วาจาสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต
[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พูดถูกกาล ๒. พูดคำจริง ๓. พูดคำอ่อนหวาน ๔. พูดคำประกอบด้วยประโยชน์ ๕. พูดด้วยเมตตาจิต ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน
วาจาสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ เพราะวัสสวลาหกเทพบุตรมัวเล่นกีฬาอยู่ จึงไม่ให้ฝนตกในฤดูกาล ถือเป็นอันตรายของฝน @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๗/๘๑-๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๓๗-๓๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=197              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=5635&Z=5649                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=197              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=197&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1832              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=197&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1832                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i191-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an5.197/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :