ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๙. อุทายีสูตร
ว่าด้วยท่านพระอุทายี
[๒๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี อนุสสติฏฐาน๒- มีเท่าไรหนอ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี อนุสสติฏฐาน มีเท่าไรหนอ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามแล้วอย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายีก็นิ่งอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในปฐมสมยสูตร @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙ (อนุสสติฏฐานสูตร) หน้า ๔๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี อนุสสติฏฐาน มีเท่าไรหนอ” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็นิ่งอยู่ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี พระศาสดาตรัสถามท่าน” ท่านพระอุทายีตอบว่า “ท่านอานนท์ ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มี พระภาคอยู่” และได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เรารู้แล้ว อุทายีนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่ประกอบอธิจิต๑- อยู่” แล้วตรัสถามท่านพระ อานนท์ต่อไปว่า “อานนท์ อนุสสติฏฐาน มีเท่าไร” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติฏฐาน มี ๕ ประการ อนุสสติฏฐาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้วบรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ ไปภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง ผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะ ปีติจางคลายไปภิกษุมีอุเบกขามีสติมีสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนาม กายบรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน @เชิงอรรถ : @ อธิจิต หมายถึงสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร

๒. ภิกษุมนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาไว้ว่าเป็นกลางวันอยู่ มนสิการ อาโลกสัญญาว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืน อย่างไร กลางวันก็อย่างนั้น ภิกษุนั้นมีจิตปลอดโปร่งไม่ถูกนิวรณ์ พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่าง๑- ด้วยประการอย่างนี้ นี้เป็น อนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ ญาณทัสสนะ๒- ๓. ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้เท่านั้น ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผม ลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดประการต่างๆ ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน กระดูก ไต๓- หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๔- ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๕-’ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้ มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ ๔. ภิกษุเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่ง สองวัน หรือ สามวัน พองขึ้น มีสีเขียวคล้ำ มีหนองไหลออกอย่างไร ก็น้อม @เชิงอรรถ : @ เจริญจิตที่มีความสว่าง หมายถึงเจริญพอกพูนจิตที่มีโอภาสเพื่อบรรลุทิพพจักขุญาณซึ่งต่างจากการ @มนสิการอาโลกสัญญาที่มุ่งบรรเทาถีนมิทธะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๒) @ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๒) @ ไต แปลจากคำว่า ‘วกฺก’ (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูก @สะบ้าของเด็กๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัว @ใจแล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บท @นิยามของคำว่า “ไต” ว่า อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของ @เสียออกมากับน้ำปัสสาวะ; Buddhadatta Mahathera, A. Concise Pali-English Dictionary, 1985, @(224) และ Rhys Davids, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925,(591) ให้ความหมายของคำว่า @“วกฺก” ตรงกับคำว่า “ไต” (Kidney) @ ม้าม แปลจากคำว่า ‘ปิหก’ ตาม (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕) (โบราณแปลว่าไต); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน @พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า “อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ด @เลือดแดง สร้างเม็ดเลือดเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย” @ มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะ ซึ่งมีที่อยู่คือกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง (วิสุทฺธิ. ๑/๒๑๓/๒๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร

กายนี้แล เข้าไปเปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้‘๑- ภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ถูกฝูงกา นกเหยี่ยว นกแร้ง สุนัข สุนัข จิ้งจอกหรือสัตว์มีชีวิตชนิดต่างๆ กำลังกัดกินอย่างไร ก็น้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบ อย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้’ ภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูก มีเนื้อและเลือด มีเอ็น รึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือด มีเอ็นรึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่โครง กระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นรึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่ท่อนกระดูกปราศจาก เครื่องผูก กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้า ไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะไปทางหนึ่งอย่างไร ก็น้อมกายนี้แลเข้าไป เปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น อย่างนี้ไปได้’ หรือภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็น กระดูกที่สัตว์ทำให้เป็นกองๆ เกินหนึ่งปี เป็นกระดูกผุแตกเป็นชิ้นเล็กๆ อย่างไร ก็น้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะ อย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้’ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ๒- ได้ ๕. ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา @เชิงอรรถ : @ เป็นธรรมดาอย่างนี้ หมายถึงสิ่ง ๓ สิ่ง คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ เป็นปัจจัยที่ทำให้กายนี้อดทนต่อ @อิริยาบถมีการยืนและการเดินเป็นต้นได้ แต่เมื่อสิ่ง ๓ สิ่งนี้ขาดไป กายนี้จึงมีความเน่าเปื่อยเป็นธรรมดา @มีภาวะอย่างนี้ หมายถึงจักมีการพองขึ้นเป็นต้นอย่างนี้ทีเดียว @ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้ หมายถึงไม่ล่วงพ้นจากการพองขึ้นเป็นต้นไปได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๗๑ หน้า ๑๒๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร

อยู่ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อการรู้แจ้งธาตุหลายชนิด๑- ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนุสสติฏฐาน ๕ ประการนี้แล” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ อนุสสติฏฐาน ข้อที่ ๖ นี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ๒- มีสติ ยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอนอยู่ มีสติประกอบการงานอยู่ อานนท์ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อสติสัมปชัญญะ”
อุทายีสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ๓-
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ (ภาวะอันยอดเยี่ยม) ๖ ประการนี้ อนุตตริยะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) ๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม) ๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม) ๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม) ๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม) ๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม) @เชิงอรรถ : @ ธาตุหลายชนิด หมายถึง ธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๗/๔๗๓) @และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๘๓/๑๔๒) @ มีสติก้าวไป หมายถึงเมื่อเดินก็เดินไปอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓) @มีสติถอยกลับ หมายถึงแม้เมื่อจะกลับ ก็กลับอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๘ หน้า ๔๑๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๗๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๖๗-๔๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=280              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=7595&Z=7659                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=300              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=300&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2509              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=300&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2509                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i292-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an6.29/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :