ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. เขมสูตร
ว่าด้วยพระเขมะ
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระเขมะและท่านพระสุมนะ อยู่ที่ป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ท่านพระเขมะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๗. เขมสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑- เสร็จแล้ว ปลงภาระ๒- ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน๓- โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ๔- ภิกษุนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ ประเสริฐกว่าเรามีอยู่’ ว่า ‘ผู้ที่เสมอกับเรามีอยู่’ หรือว่า ‘ผู้ที่ด้อยกว่าเรามีอยู่” เมื่อท่านพระเขมะกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น ท่านพระเขมะรู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระเขมะหลีกไปไม่นาน ท่านพระสุมนะได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่มีความคิด อย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ประเสริฐกว่าเราไม่มี’ ว่า ‘ผู้ที่เสมอกับเราไม่มี’ หรือว่า ‘ผู้ที่ด้อย กว่าเราไม่มี” เมื่อท่านพระสุมนะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น ท่านพระสุมนะรู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงลุกจากอาสนะถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปไม่นาน พระผู้มี พระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลาย พยากรณ์อรหัตตผลอย่างนี้ กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไปหา ส่วน @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ปัญจกนิบาต ข้อ ๕๖ (อุปัชฌายสูตร) หน้า ๙๘ ในเล่มนี้ @ ภาระ ในที่นี้หมายถึงภาระคือขันธ์ ภาระคือกิเลส และภาระคืออภิสังขาร (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๙/๑๒๘) @ ประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงพระอรหัตตผล ที่เรียกว่า ประโยชน์ตน เพราะมีนัย ๓ ประการ คือ (๑) เพราะ @เกี่ยวข้องกับโยนิโสมนสิการของตน (๒) เพราะไม่ละตนโดยนับเนื่องในสันดานของตน (๓) เพราะเป็นประโยชน์ @สูงสุดสำหรับตน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๙/๑๒๘) @ รู้โดยชอบ หมายถึงรู้อริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้นตามความเป็นจริง ด้วยมัคคปัญญา @(องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๙/๑๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๘. อินทริยสังวรสูตร

โมฆบุรุษ บางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลอยู่ เขาเหล่านั้นย่อมถึงความคับแค้นในภายหลัง พระขีณาสพทั้งหลาย ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ดีกว่า ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ด้อยกว่า ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่เสมอกัน มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวงเที่ยวไปอยู่
เขมสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๑๖-๕๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=300              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=8491&Z=8519                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=320              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=320&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2902              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=320&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2902                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i314-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an06/an06.049.than.html https://suttacentral.net/an6.49/en/sujato https://suttacentral.net/an6.49/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :