ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๖. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นมีสมาธิที่ไม่สงบ๑- มีสมาธิที่ไม่ประณีต มีสมาธิที่ไม่ได้ด้วยความสงบระงับ มีสมาธิที่ไม่มีภาวะเป็นหนึ่ง ผุดขึ้น๒- จักแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ๓- ใช้อำนาจทางกายไป จนถึงพรหมโลกได้ ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ มนุษย์ได้ ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วย จิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นได้ @เชิงอรรถ : @ สมาธิที่ไม่สงบ หมายถึงสมาธิที่ไม่สงบจากกิเลสที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๐/๑๕๒) @ สมาธิที่ไม่มีภาวะเป็นหนึ่งผุดขึ้น หมายถึงสมาธิที่ไม่ชื่อว่า เอโกทิ อันเป็นสมาธิระดับทุติยฌานซึ่ง @ปราศจากวิตก วิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิ (เทียบ วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔) @ ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มใน ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๘ หน้า ๓๙-๔๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๗. เทวตาวรรค ๖. สักขิภัพพสูตร

๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติ บ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะ ทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ได้ ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบันได้ ภิกษุทั้งหลาย ๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นมีสมาธิที่สงบ มีสมาธิที่ประณีต มีสมาธิที่ได้ด้วย ความสงบระงับ มีสมาธิที่มีภาวะที่เป็นหนึ่งผุดขึ้น จักแสดงฤทธิ์ได้ หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดง เป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกได้ ๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียง มนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ได้ ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิต ของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ ว่าจิตไม่หลุดพ้นได้ ๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้ได้ ๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์ เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ ๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญายิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้
สมาธิสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๙๑-๕๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=321              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=9961&Z=9991                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=341              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=341&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3426              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=341&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3426                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i336-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an6.70/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :