ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๘. อรหัตตวรรค ๓. อุตตริมนุสสธัมมสูตร

๓. อุตตริมนุสสธัมมสูตร
ว่าด้วยญาณทัสสนะที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑- อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒- ได้ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความหลงลืมสติ ๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ ๓. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๔. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ๕. การหลอกลวง๓- ๖. การพูดป้อยอ๔- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งญาณ- ทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งญาณทัสสนะ ที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความหลงลืมสติ ๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ @เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา (ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความ @เป็นใหญ่) อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) อีกนัยหนึ่ง @หมายถึงญาณทัสสนะที่วิเศษสามารถที่จะทำความเป็นอริยะ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ (อริยภาวํ กาตุํ สมตฺถํ @ญาณทสฺสนวิเสสํ, จตฺตาโร มคฺเค จตฺตาริ ผลานิ) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๗/๑๕๓) @ ธรรมของมุนษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๘๓ (กุหกสูตร) หน้า ๑๕๑ ในเล่มนี้ @ การพูดป้อยอ ในที่นี้หมายถึงการพูดป้อยอมุ่งหวังลาภสักการะและชื่อเสียง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๗/๑๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๘. อรหัตตวรรค ๔. สุขโสมนัสสสูตร

๓. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๔. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ๕. การหลอกลวง ๖. การพูดป้อยอ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งญาณ- ทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
อุตตริมนุสสธัมมสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๐๐-๖๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=328              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=10085&Z=10101                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=348              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=348&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3452              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=348&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3452                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i346-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an6.77/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :