ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑๐. อานิสังสวรรค ๘. อุกขิตตาสิกสูตร

๗. อนวัฏฐิตสูตร
ว่าด้วยความไม่มั่นคง
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ สามารถ ทำเขตไม่จำกัด๑- ในสังขารทั้งปวงแล้วทำอนิจจสัญญาให้ปรากฏได้ อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุพิจารณาเห็นว่า ๑. สังขารทั้งปวงจักปรากฏว่าเป็นของไม่มั่นคง ๒. ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๓. ใจของเราจักออกไปจากโลกทั้งปวง ๔. ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน ๕. สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงการละได้ ๖. เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญะ๒- อันยอดเยี่ยม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล สามารถทำเขต ไม่จำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วทำอนิจจสัญญาให้ปรากฏได้
อนวัฏฐิตสูตรที่ ๗ จบ
๘. อุกขิตตาสิกสูตร
ว่าด้วยนิพพิทาสัญญาเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ สามารถ ทำเขตไม่จำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วทำทุกขสัญญาให้ปรากฏได้ อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุพิจารณาเห็นว่า ๑. นิพพิทาสัญญา(ความกำหนดหมายความเบื่อหน่าย)ในสังขารทั้งปวง จักปรากฏแก่เราเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น @เชิงอรรถ : @ ทำเขตไม่จำกัด หมายถึงทำเขตไม่จำกัดอย่างนี้ว่า “สังขารประมาณเท่านี้ ไม่เที่ยง นอกนี้จะชื่อว่าไม่เที่ยง @ก็หามิได้” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๒/๑๕๖) @ สามัญญะ ในทีนี้หมายถึงความเป็นสมณะ ได้แก่ อริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๒/๑๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=353              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=10411&Z=10421                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=373              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=373&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3506              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=373&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3506                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i367-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an06/an06.102.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/06/an06-102.html https://suttacentral.net/an6.102/en/sujato https://suttacentral.net/an6.102/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :