ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐ ภวสูตร
ว่าด้วยภพและสิกขา
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละภพ ๓ ประการนี้ ควรศึกษาในสิกขา ๓ ประการ ภพ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) ๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร) นี้คือภพ ๓ ประการที่ภิกษุควรละ สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง) ๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง) @เชิงอรรถ : @ มมังการ หมายถึงตัณหา คือความทะยานอยากว่าเป็นของเรา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๔/๑๕๖) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๗ (อานิสังสสูตร) หน้า ๖๒๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑๐. อานิสังสวรรค ๑๑. ตัณหาสูตร

๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง) นี้คือสิกขา ๓ ประการที่ภิกษุควรศึกษา ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละภพ ๓ ประการนี้ได้ และศึกษาสิกขา ๓ ประการ นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ๑-’
ภวสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหาและมานะ
[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละตัณหา ๓ ประการ และควรละมานะ ๓ ประการ ตัณหา๒- ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามธาตุ) ๒. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปธาตุ) ๓. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปธาตุ) นี้คือตัณหา ๓ ประการที่ภิกษุควรละ มานะ๓- ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มานะ (ความถือตัวว่าเสมอเขา) ๒. โอมานะ (ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา) @เชิงอรรถ : @ หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ ๑๐ ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ @หมุนได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๗/๓๙๘) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๗/๒๔๙, ๒๕๗/๓๗๓-๓๗๕ ประกอบ @ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๗/๕๗๓ @ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๗๘-๘๘๑/๕๕๗-๕๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๒๖-๖๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=356              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=10445&Z=10453                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=376              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=376&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=376&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i367-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an6.105/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :