ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๗. ธนสูตร

๗. ธนสูตร
ว่าด้วยทรัพย์
[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ธนะ(ทรัพย์) ๕ ประการนี้ ธนะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา) ๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล) ๓. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ) ๔. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ) ๕. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา) สัทธาธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคต ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑- เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ ผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาธนะ สีลธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒- เว้นขาด จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๓- อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลธนะ สุตธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ๔- แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า สุตธนะ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๒ (วิตถตสูตร) หน้า ๒-๓ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มในข้อ ๓๒ (จุนทีสูตร) หน้า ๔๙ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มในข้อ ๘๗ (สีลวันตสูตร) หน้า ๑๕๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๗. ธนสูตร

จาคธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๑- ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการ แจกทาน นี้เรียกว่า จาคธนะ ปัญญาธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาธนะ ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในตถาคต มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยใคร่ (และ)สรรเสริญ มีความเลื่อมใสในสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของเขาไม่สูญเปล่า’ เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม๒-
ธนสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ มีฝ่ามือชุ่ม อรรถกถาอธิบายว่า ถ้าคนไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ามีมือยังไม่ล้าง มีมือสกปรก @แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรก ก็ชื่อว่าได้ล้างมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘) @ การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๗๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๗๖-๗๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=47              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=1206&Z=1231                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=47              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=47&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=47&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i041-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an5.47/en/sujato https://suttacentral.net/an5.47/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :