ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. นีวรณวรรค ๔. สมยสูตร

๔. สมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้ สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นคนแก่ ถูกชราครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควร บำเพ็ญเพียรประการที่ ๑ ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อาพาธ ถูกพยาธิครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๒ ๓. สมัยที่มีภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาตได้ยาก จึงไม่ สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ประการที่ ๓ ๔. สมัยที่มีภัย มีการปล้นสะดมในดง ชาวชนบทพากันขึ้นยานพาหนะ อพยพไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๔ ๕. สมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกัน จึงมีการด่ากัน มีการบริภาษกัน มีการใส่ร้ายกัน มีการทอดทิ้งกัน หมู่คนที่ยังไม่ เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็ไม่เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็กลาย เป็นอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๕ ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้ สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังเป็นคนหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบ ด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่ ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๑ ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วย ไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. นีวรณวรรค ๕. มาตาปุตตสูตร

๓. สมัยที่มีภิกษาหาได้ง่าย ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่ การแสวงหาเลี้ยงชีพ นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๓ ๔. สมัยที่คนทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ นี้เป็นสมัยที่ ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๔ ๕. สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่ สวดร่วมกัน๑- อยู่ผาสุก เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน จึงไม่มีการด่ากัน ไม่มีการบริภาษกัน ไม่มีการใส่ร้ายกัน ไม่มีการทอดทิ้งกัน หมู่คน ที่ยังไม่เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็ เลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๕ ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล
สมยสูตรที่ ๔ จบ
๕. มาตาปุตตสูตร
ว่าด้วยมารดากับบุตร
[๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล คนทั้งสอง คือภิกษุและภิกษุณี ผู้เป็นมารดาเป็นบุตรกัน เข้าจำพรรษาในกรุงสาวัตถี คนทั้งสองนั้นใคร่จะเห็นกัน เนืองๆ แม้มารดาก็ใคร่จะเห็นบุตรเนืองๆ แม้บุตรก็ใคร่จะเห็นมารดาเนืองๆ เพราะ การเห็นกันเนืองๆ ของคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน @เชิงอรรถ : @ มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน ในที่นี้หมายถึงมีการยกปาติโมกขุทเทส ๕ ประการ (๑) นิทานุทเทส (๒) ปาราชิ- @กุทเทส (๓) สังฆาทิเสสุทเทส (๔) อนิยตุทเทส (๕) วิตถารุทเทส เฉพาะอุทเทสที่ ๕ นั้น รวมเอานิสสัคคิ- @ยุทเทส ปาจิตยุทเทส ปาฏิเทสนิยุทเทส เสขิยุทเทส และสมถุทเทสเข้าไว้ด้วย) ขึ้นสวดร่วมกัน @(วิ.อ. ๑/๕๕/๒๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๙๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๙๓-๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=54              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=1522&Z=1556                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=54              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=54&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=664              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=54&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=664                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i051-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an5.54/en/sujato https://suttacentral.net/an5.54/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :