ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เสขพลวรรค ๗. กามสูตร

๗. กามสูตร
ว่าด้วยกาม
[๗] ภิกษุทั้งหลาย โดยมาก สัตว์ทั้งหลายหมกมุ่นอยู่ในกาม๑- กุลบุตรผู้ละ เคียวและคานหาบหญ้าออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่า ‘กุลบุตรผู้มีศรัทธา ออกบวช’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาควรได้กามด้วยความเป็นหนุ่ม และกาม เหล่านั้นก็มีระดับ คือ กามเลว กามปานกลาง และกามประณีต๒- แต่กามทั้งหมด ก็นับว่า ‘กาม’ ทั้งนั้น เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย เอาชิ้นไม้หรือชิ้นกระเบื้องใส่เข้าไปในปาก เพราะความพลั้งเผลอของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงพึงใส่ใจในเด็กนั้นทันที รีบนำชิ้นไม้หรือ ชิ้นกระเบื้องออกโดยเร็ว ถ้าไม่สามารถนำออกโดยเร็วได้ ก็เอามือซ้ายจับโดยเร็ว งอนิ้วมือข้างขวาแล้วแยงเข้าไปนำออกมาทั้งที่ยังมีโลหิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ความลำบากนั้นจะมีแก่เด็ก เราไม่กล่าวว่า ‘ไม่มีความลำบาก’ และพี่เลี้ยงผู้หวัง ประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์ พึงทำอย่างนั้นด้วยความอนุเคราะห์ แต่เมื่อใด เด็กนั้น เจริญวัย มีปัญญาสามารถ เมื่อนั้น พี่เลี้ยงก็วางใจในเด็กนั้นว่า ‘บัดนี้ เด็กมีความ สามารถรักษาตนเองได้ ไม่ประมาท’ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ที่เราต้องรักษาตลอดเวลา ที่เธอยัง @เชิงอรรถ : @ กาม หมายถึงความใคร่, ความอยาก, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ มี ๒ อย่าง คือ (๑) กิเลสกาม กิเลส @ที่ทำให้ใคร่ ได้แก่ ราคะ โลภะ อิจฉา(ความอยากได้) เป็นต้น (๒) วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่ @กามคุณ ๕ (รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗/๒) @ กามเลว หมายถึงกามของตระกูลชั้นต่ำซึ่งทุกข์ยากขัดสน ๕ ตระกูล คือ (๑) จัณฑาละ ตระกูลจัณฑาล @(๒) เวณะ ตระกูลช่างสาน (๓) เนสาทะ ตระกูลนายพราน (๔) รถการะ ตระกูลช่างรถ (๕) ปุกกุสะ @ตระกูลคนขนขยะ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗/๓) และดู สํ.ส. ๑๕/๑๓๒/๑๑๒, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๓/๑๕๑ @กามปานกลาง หมายถึงกามของชนชั้นกลาง @กามประณีต หมายถึงกามของชนชั้นปกครอง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗/๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เสขพลวรรค ๘. จวนสูตร

๑. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยศรัทธา ๒. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยหิริ ๓. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยโอตตัปปะ ๔. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยวิริยะ ๕. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยปัญญา แต่เมื่อใด ภิกษุ ๑. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยศรัทธา ๒. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยหิริ ๓. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยโอตัปปะ ๔. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยวิริยะ ๕. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยปัญญา เมื่อนั้น เราก็วางใจในภิกษุนั้นได้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุมีความสามารถรักษาตนได้ ไม่ประมาท’
กามสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๙-๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=104&Z=125                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=7              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=7&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=38              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=7&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=38                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i001-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an5.7/en/sujato https://suttacentral.net/an5.7/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :