ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๒
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ควร เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรายังเป็นคนหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ใน ปฐมวัยก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่ชราจะถูกต้องกายนี้ได้ การ ที่บุคคลผู้แก่ถูกชราครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ @เชิงอรรถ : @ อมนุษย์ หมายถึงยักษ์เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๗/๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร

ป่าโปร่ง๑- และป่าทึบ๒- ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้แก่ ก็จักอยู่สบาย’ ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้องกายนี้ได้ การที่บุคคลผู้ เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และ ป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง ไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้อาพาธก็จัก อยู่สบาย’ ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ มีภิกษาหาได้ง่าย ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพก็จริง @เชิงอรรถ : @ ป่าโปร่ง หมายถึงป่าอยู่นอกเสาเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๗๕ (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า ๑๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร

ถึงกระนั้นก็ยังมีสมัยที่ภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาต ได้ยาก จึงไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ เมื่อภิกษาหาได้ยาก คนทั้งหลายจึงอพยพไปในที่มีอาหารดี ที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลี ด้วยหมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วย หมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภ ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ในสมัยที่มีภิกษาหาได้ยากก็จักอยู่สบาย’ ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ คนทั้งหลายพร้อม เพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกัน ด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่ มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชนวุ่นวาย เมื่อมีภัย คนทั้งหลาย จึงอพยพไปในที่ปลอดภัย ที่นั้นย่อมมีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่กัน อย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และ ป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ใน สมัยที่มีภัยก็จักอยู่สบาย’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร

ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน๑- อยู่ผาสุกก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกันแล้ว การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ก็มิใช่ ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น จะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ในเมื่อสงฆ์แตกแยก กันก็จักอยู่สบาย’ ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ทุติยอนาคตภยสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๔ (สมยสูตร) หน้า ๙๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๔๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๔๐-๑๔๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=78              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=2345&Z=2396                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=78              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=78&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=896              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=78&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=896                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i071-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.078.than.html https://suttacentral.net/an5.78/en/sujato https://suttacentral.net/an5.78/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :