ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๑๐. ทุติยเสขสูตร

๑๐. ทุติยเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ สูตรที่ ๒
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ ภิกษุผู้เป็นเสขะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียกิจมาก ไม่ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ละการหลีกเร้น ไม่ตามประกอบความสงบใจ๑- ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เป็นเสขะ ๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะให้วันเวลาล่วงไปเพราะการงานเล็กน้อย ละการ หลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ๓. ภิกษุผู้เป็นเสขะคลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบ ความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อความ เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ๔. ภิกษุผู้เป็นเสขะเข้าไปยังหมู่บ้านในเวลาเช้านัก กลับมาในเวลาสายนัก ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ ที่ ๔ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ๕. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลา เป็นสัปปายะแห่งความ เป็นไปของจิต๒- คืออัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา (เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา @เชิงอรรถ : @ ความสงบใจ (เจโตสมถะ) ในที่นี้หมายถึงสมาธิกัมมัฏฐาน (๓/๙๐/๔๓) @ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ @และวิปัสสนา คือความปลอดโปร่งแห่งจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๐/๔๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๑๐. ทุติยเสขสูตร

(เรื่องความไม่คลุกคลี) วีริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร) สีลกถา (เรื่องศีล) สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา (เรื่องปัญญา) วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้ ความเห็นในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ ที่ ๕ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการต่อไปนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ ภิกษุผู้เป็นเสขะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีกิจมาก ไม่มีกรณียกิจมาก ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ไม่ละการหลีกเร้น ตามประกอบความสงบใจ ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เป็นเสขะ ๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่ให้วันเวลาล่วงไป เพราะการงานเล็กน้อย ไม่ละ การหลีกเร้น ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ๓. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความ สงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ ภิกษุผู้เป็นเสขะ ๔. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่เข้าไปยังหมู่บ้านในเวลาเช้านัก ไม่กลับในเวลาสายนัก ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ ที่ ๔ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๕. ภิกษุผู้เป็นเสขะได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแห่ง ความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วีริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความสงบใจ ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เป็นเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เป็นเสขะ
ทุติยเสขสูตรที่ ๑๐ จบ
เถรวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. รชนียสูตร ๒. วีตราคสูตร ๓. กุหกสูตร ๔. อัสสัทธสูตร ๕. อักขมสูตร ๖. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร ๗. สีลวันตสูตร ๘. เถรสูตร ๙. ปฐมเสขสูตร ๑๐. ทุติยเสขสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๖๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๖๐-๑๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=90              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=2669&Z=2721                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=90              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=90&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=972              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=90&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=972                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i081-e.php#sutta10 http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/05/an05-090.html https://suttacentral.net/an5.90/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :