ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ว่าด้วยมหาปุริสวิตกของพระอนุรุทธะ
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าเภสกฬามิคทายวัน เขต กรุงสุงสุมารคิระ๓- แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ปาจีนวังสทายวัน ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดอย่างนี้ว่า “นี้เป็นธรรม๔- @เชิงอรรถ : @ สังวร ในที่นี้หมายถึงสีลสังวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๙) @ ฝั่ง ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๙) @ สุงสุมารคิระ หมายถึงชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘ สุงสุมารคีรี ก็เรียก @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๘/๒๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร

ของบุคคลผู้มักน้อย๑- ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด๒- ไม่ใช่ธรรมของบุคคล ผู้ยินดีในการคลุกคลี๓- นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของ บุคคลผู้เกียจคร้าน นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลง ลืมสติ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น นี้เป็น ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอนุรุทธะด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายจากเภสกฬามิคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ไปปรากฏต่อ หน้าท่านพระอนุรุทธะที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี๔- เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน ออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายท่านพระอนุรุทธะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ดีจริง อนุรุทธะ เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่า ‘นี้เป็นธรรม ของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ ยินดีในการคลุกคลี นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของบุคคล ผู้เกียจคร้าน นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงลืมสติ @เชิงอรรถ : @ มักน้อย ในที่นี้หมายถึงความมักน้อย ๔ อย่าง คือ (๑) มักน้อยในปัจจัย กล่าวคือ เมื่อคนอื่นให้ของมาก @ก็รับน้อย เมื่อเขาให้ของน้อย ก็รับน้อยกว่า (๒) มักน้อยในการบรรลุ กล่าวคือ ไม่ให้บุคคลอื่นรู้การ @บรรลุธรรมของตน (๓) มักน้อยในปริยัตติ กล่าวคือ แม้ตนเองเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่ให้บุคคลอื่นรู้ @(๔) มักน้อยในธุดงค์ กล่าวคือ ไม่ให้บุคคลอื่นรู้การรักษาธุดงค์ของตน ดุจพระเถระผู้เป็นพี่น้องกัน ๒ รูป @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐) @ สงัด ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐) @ ยินดีในการคลุกคลี ในที่นี้หมายถึงยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ และความคลุกคลีด้วยกิเลส @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๑) @ เจตี เป็นชื่อแคว้นหนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเจ้าที่มีพระนามว่าเจตี (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร

นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น นี้เป็นธรรม ของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม’ อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม๑- ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม๒- ผู้พอใจใน ปปัญจธรรม’ อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก หวังได้ทีเดียวว่า ‘จักสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป จักบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิด จากสมาธิอยู่’ อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป จักเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว จักบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่’ อนุรทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความ ยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ เหมือนหีบใส่ผ้าของคหบดี หรือบุตรคหบดีเต็มไปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่างๆ ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ นิปปปัญจธรรม หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๑) @ ปปัญจธรรม หมายถึงตัณหา มานะ และทิฏฐิ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร

อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น อาหารคือคำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้งจักปรากฏ แก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุกแห่งข้าวสาลีของคหบดีหรือบุตรคหบดี ที่คัดกากออกแล้ว มีแกงหลายอย่าง มีกับหลายอย่าง ฉะนั้น อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น เสนาสนะคือโคนไม้จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วย ความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอดของคหบดีหรือบุตรคหบดีที่โบกทั้งภายในและภายนอกลมพัด เข้าไม่ได้ มีบานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ที่นอนและที่นั่งที่ลาดด้วยหญ้าจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่ นิพพาน เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคหบดีหรือบุตรคหบดีที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วย เครื่องลาดขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะลาย ลาดด้วยเครื่องลาด อย่างดีทำด้วยหนังชะมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสีแดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง ฉะนั้น อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วย ความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชชนิดต่างๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยของคหบดี หรือบุตรคหบดี อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอควรอยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนี้แล ต่อไปเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร

ท่านพระอนุรุทธะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ทรงหายจากปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี ไปปรากฏที่เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แล้วรับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ มหาปุริสวิตก ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก ๒. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๓. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลี ๔. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้เกียจคร้าน ๕. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงลืมสติ ๖. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น ๗. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๘. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ผู้พอใจในนิปปปัญจ- ธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจในปปัญจธรรม เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของ บุคคลผู้มักมาก‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มักน้อย ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มักน้อย’ เป็นผู้สันโดษ ไม่ปรารถนา ว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้สันโดษ’ เป็นผู้สงัด ไม่ปรารถนาว่า ‘คนทั้งหลาย พึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้สงัด’ เป็นผู้ปรารภความเพียร ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึง รู้จักเราว่า ‘เป็นผู้ปรารภความเพียร’ เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลาย พึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มีสติตั้งมั่น’ เป็นผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จัก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร

เราว่า ‘เป็นผู้มีใจตั้งมั่น’ เป็นผู้มีปัญญา ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มีปัญญา’ เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จัก เราว่า ‘เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคล ผู้มักมาก’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของ บุคคลผู้ไม่สันโดษ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคล ผู้ไม่สันโดษ’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคล ผู้ยินดีในการคลุกคลี‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชามหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวก ของเดียรถีย์ทั้งหลายเข้าไปหา ในที่นั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ใน วิเวก๑- ยินดียิ่งในเนกขัมมะ๒- ก็จำต้องกล่าวถ้อยคำอันเกี่ยวกับการส่งการรับโดยแท้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ ยินดีในการคลุกคล’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ ธรรมของบุคคลผู้เกียจคร้าน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความ เพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

@เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๘ หน้า ๒๗๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร

เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรม ของบุคคลผู้เกียจคร้าน’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม ของบุคคลผู้หลงลืมสติ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูด แม้นานได้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ของบุคคลผู้ หลงลืมสติ’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ๑- บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของ บุคคลผู้มีปัญญาทราม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๒-๒๒๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร

เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของบุคคลผู้มี ปัญญาทราม’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจ ในปปัญจธรรม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในปปัญจนิโรธ๑- ย่อมหลุดพ้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจใน ปปัญจธรรม” ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้อยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนั้นแล ต่อไปอีก ท่านจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒- อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านพระอนุรุทธะผู้ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ ปปัญจนิโรธ หมายถึงบทคือนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๒) @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผล อันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว จึงเสด็จมาหาเราด้วยมโนมยกายฤทธิ์๑- พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในนิปปปัญจธรรม ทรงแสดงมหาปุริสวิตกยิ่งกว่าความดำริของเรา๒- ทรงแสดงนิปปปัญจธรรมแล้ว เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในพระศาสนาอยู่ เราได้บรรลุวิชชา ๓ โดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำตามแล้ว
อนุรุทธมหาวิตักกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมอุคคสูตร ๒. ทุติยอุคคสูตร ๓. ปฐมหัตถกสูตร ๔. ทุติยหัตถกสูตร ๕. มหานามสูตร ๖. ชีวกสูตร ๗. ปฐมพลสูตร ๘. ทุติยพลสูตร ๙. อักขณสูตร ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร @เชิงอรรถ : @ มโนมยกายฤทธิ์ หมายถึงฤทธิ์ที่ทำให้กายเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจใจ กล่าวคือกายที่ใช้อำนาจจิตเนรมิตให้ @เกิดขึ้นได้ และไปได้ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๓) @ ข้อความนี้หมายถึงท่านพระอนุรุทธะสามารถตรึกมหาปุริสวิตกได้เพียง ๗ ประการ แต่พระพุทธเจ้าทรง @แสดงได้ถึง ๘ ประการ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๗๘-๒๘๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=103              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=4717&Z=4876                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=120              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=120&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5591              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=120&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5591                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i111-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.030.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/08/an08-030.html https://suttacentral.net/an8.30/en/sujato https://suttacentral.net/an8.30/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :