ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๕. อุทกูปมาสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ๔-
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ จมแล้วครั้งเดียว ก็ยังจมอยู่นั่นเอง ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป @เชิงอรรถ : @ ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) หมายถึงท่านผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้อง ได้แก่ พระอริยบุคคล @ผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม) หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บำเพ็ญอริยมรรค ดำรงอยู่ใน @โสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลมีปัญญาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา) หมายถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อ @บรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๓/๑๔๗, ๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๕. อุทกูปมาสูตร

๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก บุคคลผู้จมลงครั้งเดียว ก็ยังจมอยู่นั่นเอง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว๑- ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้จมลงครั้งเดียว ก็ยังจมอยู่นั่นเอง เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ศรัทธา ของเขานั้นไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ เสื่อมไปฝ่ายเดียว หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะ ของเขานั้น ... วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ เสื่อมไป ฝ่ายเดียว ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และศรัทธา ของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะของเขานั้น ... วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ อกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว ในที่นี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ ลัทธินัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า @ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล) อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย) @และอกิริยวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดีทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว (เป็นความเห็นที่ @ปฏิเสธกฎแห่งกรรม) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๕/๑๖๒, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๑๕/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๕. อุทกูปมาสูตร

บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ สังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ สำเร็จสัมโพธิ๑- ในวันข้างหน้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็น อย่างนี้แล บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ สังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะราคะ โทสะและโมหะเบาบาง เขาจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้น แล้วข้ามไป เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโอปปาติกะ๒- ปรินิพพานในภพชั้น สุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคเบื้องสูง ๓ ประการ (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๑/๕๕๙) @ โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดา @และสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) ในที่นี้หมายถึงโอปปาติกะที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ @ได้เป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามีไปเกิดในสุทธาวาส ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ @ปรินิพพานสิ้นกิเลสอยู่ในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๖. อนิจจานุปัสสีสูตร

บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี... มีโอตตัปปะดี... มีวิริยะดี... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเขาทำให้ แจ้งเจโตวิมุตติ๑- ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้ ลอยบาปอยู่บนบก เป็นอย่างนี้แล๓- ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
อุทกูปมาสูตรที่ ๕ จบ
๖. อนิจจานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตซึ่งเป็นผลแห่งสมาธิ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการกำจัดอวิชชาได้ซึ่งเป็นผลแห่งปัญญา @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ คำว่า “โผล่ขึ้น” ในสูตรนี้ หมายถึงมีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา บุคคลจำพวกที่ ๗ นี้ @หมายถึงผู้ข้ามโอฆะคือกิเลสทั้งปวงได้ ดำรงตนอยู่บนบกคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๕/๑๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๑-๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=233&Z=278                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=15              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=15&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3627              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=15&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3627                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i011-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.015.than.html https://suttacentral.net/an7.15/en/sujato https://suttacentral.net/an7.15/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :