ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๖. เสวนาสูตร

๖. เสวนาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ๑-
[๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ควรใช้สอย และจีวร ที่ไม่ควรใช้สอย แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาตที่ควรฉัน และ บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่ อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บ้านและนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้ชนบทและ ประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบท และประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย เรากล่าวไว้เช่นนี้แล๒- ว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคล ที่ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา คบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขาร สำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้น ได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้บุคคลนั้นในเวลากลางคืนหรือกลางวัน ก็ตาม ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๔/๑๑๖-๑๑๙ @ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๑-๕๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๖. เสวนาสูตร

และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขาร สำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เรา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้ บุคคลนั้น ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุรู้ บุคคลนั้นแล้วควรติดตามบุคคลนั้นไป ไม่ควรจากไป บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น และบริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุควร ติดตามบุคคลนั้นไปจนตลอดชีวิต ไม่พึงจากไป แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่ ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ควร ใช้สอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาจีวร ๒ อย่างนั้น จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอย จีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ จีวรนี้ไม่ควร ใช้สอย จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ จีวรนี้ควรใช้สอย เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ใช้ควรสอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๖. เสวนาสูตร

เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาต ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบิณฑบาต ๒ อย่างนั้น บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย เสื่อมไป บิณฑบาตนี้ไม่ควรฉัน บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บิณฑบาตนี้ควรฉัน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาต ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ เสนาสนะ ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว ไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาเสนาสนะ ๒ อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย เสื่อมไป’ เสนาสนะนี้ไม่ควรอยู่อาศัย เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย เสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ เสนาสนะนี้ควรใช้สอย เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ เสนาสนะ ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บ้าน และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบ้านและนิคม ๒ อย่างนั้น บ้านและนิคมใด ภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ บ้านและนิคมนี้ไม่ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมใดภิกษุ รู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรม ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บ้านและนิคมนี้ควรอยู่อาศัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๗. สุตวาสูตร

เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บ้าน และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนั้นว่า บรรดาชนบทและประเทศ ๒ อย่างนั้น ชนบทและ ประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้ อกุศลธรรมทั้งหลาย เจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ ชนบทและประเทศนี้ไม่ควรอยู่อาศัย ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรม ทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ ชนบทและประเทศนี้ควรอยู่อาศัย เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เสวนาสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๔๒-๔๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=169              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=7765&Z=7834                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=210              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=210&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6522              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=210&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6522                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i205-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an9.6/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :