ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๗. สุตวาสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสุตวา
[๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อสุตวาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ในกรุงราชคฤห์ อันมีชื่อว่าคิริพพชะนี้แล ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า ‘สุตวา ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๗. สุตวาสูตร

สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๕ ประการ๑- ได้ คือ ๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ ๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม ๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้ ๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน คำนี้ข้าพระองค์ได้สดับรับมาจากพระผู้มีพระภาค ใส่ใจทรงจำไว้ได้ถูกต้องดีแล้ว ใช่ไหม พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุตวา จริง คำนี้ท่านได้สดับรับมาใส่ใจทรงจำไว้ได้ ถูกต้องดีแล้ว สุตวา คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็น อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการ คือ ๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ ๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม ๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้ ๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน ๖. ไม่อาจลำเอียงเพราะชอบ ๗. ไม่อาจลำเอียงเพราะชัง ๘. ไม่อาจลำเอียงเพราะหลง ๙. ไม่อาจลำเอียงเพราะกลัว’ @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๖/๒๐๙, ม.ม. ๑๓/๒๓๔/๒๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๘. สัชฌาสูตร

สุตวา คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต- ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ นั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการนี้แล”
สุตวาสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๔๕-๔๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=170              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=7835&Z=7864                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=211              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=211&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6533              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=211&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6533                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i205-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.007.than.html https://suttacentral.net/an9.7/en/sujato https://suttacentral.net/an9.7/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :