ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. สีหนาทวรรค ๑. สีหนาทสูตร

๒. สีหนาทวรรค
หมวดว่าด้วยการบันลือสีหนาท
๑. สีหนาทสูตร
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถีแล้ว ปรารถนา จะจาริกไปในชนบท” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระสารีบุตรจากไปแล้วไม่นาน ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกระทบข้าพระองค์ แล้ว ไม่ขอโทษ ก็จาริกไป” ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอจงมา จงไปเรียกสารีบุตรตามคำของเราว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดาเรียกท่าน” ภิกษุนั้น ทูลสนองรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าว กับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งเรียกท่าน” ท่านพระ สารีบุตรรับคำแล้ว สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระอานนท์ถือลูกกุญแจเที่ยว ประกาศไปในวิหารว่า “ออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรจักบันลือสีหนาทต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาค” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. สีหนาทวรรค ๑. สีหนาทสูตร

ครั้นท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้กล่าวหาเธอว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระ สารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ขอโทษ ก็จาริกไป” ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกาย- คตาสติ(สติไปในกาย)ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งใน ธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ ก็พึงจาริกไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ๑. ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดบ้าง ทิ้งของไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งน้ำลายบ้าง ทิ้งหนองบ้าง ทิ้งเลือดบ้าง ลงบน แผ่นดิน แต่แผ่นดินก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยแผ่นดิน ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑- ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในพระธรรม- วินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ๒. ชนทั้งหลายย่อมล้างของสะอาดบ้าง ล้างของไม่สะอาดบ้าง ล้างคูถ บ้าง ล้างมูตรบ้าง ล้างน้ำลายบ้าง ล้างหนองบ้าง ล้างเลือดบ้าง ในน้ำ แต่น้ำก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยน้ำ ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารี รูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ๓. ไฟย่อมไหม้ของสะอาดบ้าง ไหม้ของไม่สะอาดบ้าง ไหม้คูถบ้าง ไหม้มูตรบ้าง ไหม้น้ำลายบ้าง ไหม้หนองบ้าง ไหม้เลือดบ้าง แต่ไฟก็ @เชิงอรรถ : @ มหัคคตะ แปลว่าถึงความเป็นใหญ่ กล่าวคือเป็นรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล เพราะสามารถข่มกิเลสได้ @หรือดำเนินไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะและปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) @และดู อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. สีหนาทวรรค ๑. สีหนาทสูตร

ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น เหมือนกัน มีใจเสมอด้วยไฟ ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใด ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ๔. ลมย่อมพัดของสะอาดบ้าง พัดของไม่สะอาดบ้าง พัดคูถบ้าง พัด มูตรบ้าง พัดน้ำลายบ้าง พัดหนองบ้าง พัดเลือดบ้าง แต่ลมก็ไม่ อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น เหมือนกัน มีใจเสมอด้วยลม ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ๕. ผ้าเช็ดธุลีย่อมเช็ดของสะอาดบ้าง เช็ดของไม่สะอาดบ้าง เช็ดคูถบ้าง เช็ดมูตรบ้าง เช็ดน้ำลายบ้าง เช็ดหนองบ้าง เช็ดเลือดบ้าง แต่ ผ้าเช็ดธุลีก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารี รูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ๖. เด็กจัณฑาลผู้ชายหรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง หิ้วตะกร้า นุ่งผ้าชายขาด เมื่อเข้าไปสู่บ้านหรือนิคม ย่อมตั้งจิตนอบน้อมเท่านั้นเข้าไป แม้ ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยเด็กจัณฑาล ผู้ชายหรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. สีหนาทวรรค ๑. สีหนาทสูตร

๗. โคผู้เขาหัก สงบเสงี่ยม ได้รับการฝึกมาดี ได้รับการแนะนำมาดี ให้สำเหนียกดี เดินไปตามถนนหนทาง ตามทางแยกน้อยใหญ่ ไม่ดีด หรือขวิดใครๆ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอ ด้วยโคผู้เขาหัก ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่น กายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ๘. สตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว สรงน้ำดำหัวแล้ว พึงอึดอัด ระอา หรือรังเกียจซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ที่ คล้องคอไว้ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจกายอันเปื่อยเน่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใด ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ๙. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษประคองถาดมันข้นที่มีช่องน้อยใหญ่ น้ำไหลออกได้ข้างบน ไหลออกได้ข้างล่าง แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารกายนี้ที่มีช่องน้อยช่องใหญ่๑- ไหลเข้า ไหลออกอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัย นี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า หมอบลงแทบพระบาท ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ โทษได้มาถึงข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นคนไม่ฉลาด ที่ได้กล่าวตู่ท่านพระสารีบุตรด้วยคำที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ ไม่เป็นจริง ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอดโทษแก่ข้าพระองค์เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด” @เชิงอรรถ : @ ช่องน้อยช่องใหญ่ ในที่นี้หมายถึงปากแผลทั้ง ๙ (ทวาร ๙ คือ ช่องตาทั้งสอง ช่องหูทั้งสอง ช่องจมูก @ทั้งสอง ช่องปาก ทวารหนัก ทวารเบา) (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๑/๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. สีหนาทวรรค ๒. สอุปาทิเสสสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทษได้มาถึงเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นคน ไม่ฉลาด ที่เธอได้กล่าวตู่สารีบุตรด้วยคำที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ ไม่เป็นจริง แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราย่อม อดโทษนั้นแก่เธอ ข้อที่ภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความ สำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “สารีบุตร เธอจง อดโทษให้แก่โมฆบุรุษผู้นี้เถิด ก่อนที่ศีรษะของเขาจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง เพราะโทษ นั้นนั่นเอง” ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะอดโทษ แก่ท่านรูปนั้น ถ้าท่านรูปนั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ขอท่านผู้มีอายุนั้น จงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
สีหนาทสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๕๑-๔๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=174              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=7916&Z=8017                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=215              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=215&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6548              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=215&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6548                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i215-e.php# https://suttacentral.net/an9.11/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :