ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ฯลฯ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เรากล่าวว่า กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกาม ทั้งหลายได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว @เชิงอรรถ : @ อนุปุพพวิหารธรรม หมายถึงธรรมเครื่องอยู่ที่ต้องเข้าสมาบัติตามลำดับ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๒-๓๓/๓๐๗) และ @ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร

ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง กล่าวอย่างนี้ว่า ‘กามทั้งหลายดับที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ กามได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจาก วิเวกอยู่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้ และท่านเหล่านั้นก็ดับ กามได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง ชื่นชม ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลี เข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่ ๒. เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิตกและวิจารดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลาย พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตก- วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ วิตกและวิจารย่อมดับใน ทุติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิตกและวิจารได้สนิทอยู่’ ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่ ๓. เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ปีติย่อมดับ ในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับปีติได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เรา ไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ปีติย่อมดับในตติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับปีติได้สนิทอยู่’ ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๙๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร

๔. เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ อุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิท แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ไหน และคน เหล่าไหนเล่าดับอุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อุเบกขาและ สุขย่อมดับในจตุตถฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้ สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชม ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไป นั่งใกล้เป็นแน่ ๕. เรากล่าวว่า รูปสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูปสัญญา ได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘รูปสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับรูปสัญญาได้ สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง รูปสัญญาย่อมดับในอากาสานัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้น ดับรูปสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี มายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่ ๖. เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน เหล่าใดดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากาสานัญจายตนสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร

ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากาสานัญจายตนสัญญา ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับใน วิญญาณัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตน- สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่ ๗. เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน เหล่าใดดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับวิญญาณัญจายตนสัญญา ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในอากิญจัญญายตน- ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่ ๘. เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน เหล่าใดดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากิญจัญญายตนสัญญา ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร

อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่ ๙. เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และ ท่านเหล่าใดดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่าน เหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เนวสัญญา- นาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็น ผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัย นี้ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับใน สัญญาเวทยิตนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตน- สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่ ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๙๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๙๕-๔๙๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=196              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=8775&Z=8869                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=237              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=237&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6932              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=237&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6932                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i236-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.033.than.html https://suttacentral.net/an9.33/en/sujato https://suttacentral.net/an9.33/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :