ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๔. คาวีอุปมาสูตร
ว่าด้วยการอุปมาด้วยแม่โค
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควร ไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยัน เท้าหน้าไม่สนิทดีแล้วยกเท้าหลังขึ้น จะไปสู่ทิศทางที่ยังไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยัง ไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่มก็ไม่ได้ เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่ยัง ไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายังถิ่นนั้น โดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอไม่เสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งนิมิต๑- นั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี @เชิงอรรถ : @ นิมิต ในที่นี้หมายถึงปฐมฌาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๔. คาวีอุปมาสูตร

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ ระงับไป มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่อาจบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรสงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ เธอไม่อาจสงัด จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้พลาด เป็นผู้เสื่อมจากผลทั้ง ๒ ฝ่าย เปรียบเหมือนแม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่ จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่ ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว ยกเท้าหลังขึ้น พึงไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยัง ไม่เคยดื่มได้ เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยัง ทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายัง ถิ่นนั้นโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี วิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ ระงับไป มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่ติดใจทุติยฌาน บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๔. คาวีอุปมาสูตร

กล่าวสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอไม่ติดใจตติยฌาน บรรลุ ตติยฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ โทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่’ เธอไม่ติดใจจตุตถฌาน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เธอไม่ติดใจอากาสานัญจายตนฌาน บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่” เธอไม่ติดใจวิญญาณัญจายตนฌาน ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่’ เธอไม่ติดใจอากิญจัญญายตนฌาน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้ มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่’ เธอไม่ติดใจเนวสัญญานา- สัญญายตนฌาน ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๔. คาวีอุปมาสูตร

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่’ เธอไม่ติดใจสัญญาเวทยิตนิโรธ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สมาบัตินั้นๆ แล ภิกษุเข้าก็ได้ ออกก็ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน๑- ด้วยจิตที่อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน เธอจึงเจริญอัปปมาณสมาธิ๒- ด้วยอัปปมาณสมาธิที่เจริญดีแล้ว เธอจึงน้อมจิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เมื่อมีเหตุ๓- เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง พรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน ธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า มีราคะ หรือปราศจากราคะ ก็รู้ว่า ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่า มีโทสะ หรือปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า มีโมหะ @เชิงอรรถ : @ เหมาะแก่การใช้งาน ในที่นี้หมายถึงจิตอยู่ในระดับฌานที่ ๔ ที่เป็นบาทแห่งอภิญญา (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘) @ อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิในพรหมวิหาร ๔ บ้าง หมายถึงมัคคสมาธิและผลสมาธิบ้าง แต่ในที่นี้ @หมายถึงสมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่วในอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ @(องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๔) @ เมื่อมีเหตุ แปลจากบาลีว่า สติ อายตเน (เมื่อมีเหตุแห่งสติ) หมายถึงฌานที่เป็นบาท (เครื่องบรรลุ) @กล่าวคือบุพเหตุแห่งอภิญญาบ้าง หมายถึงอรหัตตผลที่เป็นเหตุแห่งอภิญญา ๖ ประการบ้าง หมายถึง @วิปัสสนาที่เป็นเหตุแห่งอรหัตตผลบ้าง แต่ในที่นี้หมายถึงเหตุคืออุปนิสสัยแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้นๆ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๒๕๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๑๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๔. คาวีอุปมาสูตร

หรือปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า หดหู่ หรือฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑- ก็รู้ว่า เป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่า ไม่เป็น มหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า ไม่มี จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่า เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่า ไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า ไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๒- พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอ ย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังอยู่ว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๓- ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ มนุษย์ ฯลฯ พึงรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ
คาวีอุปมาสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ จิตเป็นมหัคคตะ แปลว่าจิตที่ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต ที่ชื่อว่าถึง @ความเป็นใหญ่ เพราะสามารถข่มกิเลสได้ มีผลไพบูลย์และมีการสืบต่อยาวนาน หรือหมายถึงจิตที่ดำเนิน @ไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) และดู @องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๓/๒๘-๓๐, อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕ @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๐๓-๕๐๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=198              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=8946&Z=9040                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=239              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=239&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6945              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=239&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6945                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i236-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.035.than.html https://suttacentral.net/an9.35/en/sujato https://suttacentral.net/an9.35/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :