ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๔. ทุติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๒
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ๑- อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการงาน๒- ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย๓- ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในตอนต้นข้อความของข้อ ๒๔-๒๗ นี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๓ (ปฐมสัตตกสูตร) @หน้า ๓๗ ในเล่มนี้ @ ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงการหยุดพักทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และผ้า @เช็ดเท้า หรืองานก่อสร้างต่างๆ เช่นก่อสร้างวิหารเป็นต้น ที่เป็นเหตุให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ @วิปัสสนาธุระ หันมามุ่งบำเพ็ญสมณธรรม (ที.ม.อ. ๒/๑๓๗/๑๒๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๖-๑๗๗, @องฺ.ฉกฺก. ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘) @ ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่มุ่งสนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย เช่น เรื่องบุรุษ สตรี เป็นต้น แต่ @สนทนาเรื่องธรรม ถามปัญหา ตอบปัญหาเกี่ยวกับธรรมวินัย พูดน้อย พูดมีที่จบ ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า @ภิกษุผู้นั่งประชุม มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ (๑) สนทนาธรรม (๒) เป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ (ที.ม.อ. ๒/๑๓๗/๑๒๘, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๒๗๓/๒๓๕, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๒/๔๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๕. ตติยสัตตกสูตร

๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ๑- ฯลฯ ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ฯลฯ ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว ไม่ตกไปสู่อำนาจของความ ปรารถนาชั่ว ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังไม่มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังไม่ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างเพียงเพราะได้บรรลุ คุณวิเศษชั้นต่ำ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
ทุติยสัตตกสูตรที่ ๔ จบ
๕. ตติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๓
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังมีศรัทธา๒- @เชิงอรรถ : @ ไม่ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงจะยืนก็ตาม จะเดินก็ตาม จะนั่งก็ตาม จะมีจิตตกภวังค์เพราะร่างกาย @เจ็บป่วยก็ตาม ก็ไม่ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ครอบงำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) @และดู ม.มู. ๑๒/๓๘๗/๓๔๕ (มหาสัจจกสูตร) ประกอบ @ ศรัทธา มี ๔ ประการ คือ (๑) อาคมนียะ (ศรัทธาของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพื่อพระสัพพัญญุตญาณ) @(๒) อธิคมะ (ศรัทธาของพระอริยบุคคล) (๓) ปสาทะ (ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์) @(๔) โอกัปปนะ (ศรัทธาอย่างมั่นคง) แต่ในที่นี้หมายถึงปสาทะและโอกัปปนะเท่านั้น (ที.ม.อ. ๒/๑๓๘/๑๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๘-๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=554&Z=567                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=22              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=22&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3941              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=22&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3941                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i019-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an7.24/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :