ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร๑-
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยัง ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. ๑๑/๓๒๐/๒๑๑-๒๑๒, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๖/๓๔๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๓-๒๔, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. สติปัฏฐานวรรค ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร

เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ ๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ ๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ ๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่ หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้๑- เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย ความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕ ของ ผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ @เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อินทรียสังวรศีล คือ ความ @สำรวมอินทรีย์ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีล @คือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบไม่ประกอบอเนสนา(การแสวงหาอันไม่สมควร) มีหลอกลวง @เขาเลี้ยงชีพเป็นต้น (๔) ปัจจยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณะ คือ พิจารณา @ใช้สอยปัจจัย ๔ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔-๑๘/๑๗-๓๖) @วัตร หมายถึงวัตตสมาทาน (การประพฤติข้อปฏิบัติ) @ตบะ หมายถึงตปจรณะ (การประพฤติตบะ) @พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการร่วมประเวณี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. สติปัฏฐานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัย ๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
สติปัฏฐานวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สิกขาทุพพัลยสูตร ๒. นีวรณสูตร ๓. กามคุณสูตร ๔. อุปาทานักขันธสูตร ๕. โอรัมภาคิยสูตร ๖. คติสูตร ๗. มัจฉริยสูตร ๘. อุทธัมภาคิยสูตร ๙. เจโตขีลสูตร ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๕๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๕๖-๕๕๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=235              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=9864&Z=9908                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=276              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=276&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=276&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i267-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an9.72/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :