ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๙. เมตตสูตร

๙. เมตตสูตร
ว่าด้วยการเจริญเมตตาจิต
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวบุญเลย คำว่า บุญ นี้ เป็นชื่อ ของความสุข เราย่อมรู้ชัดว่าบุญที่เราทำแล้วตลอดกาลนาน มีผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ อันเราเสวยมาแล้วตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี ไม่ได้กลับมาสู่โลกนี้อีกตลอด ๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑- ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกเสื่อม เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เราเข้าถึงพรหมวิมานอันว่างเปล่า ภิกษุทั้งหลาย ในพรหมวิมานนั้น เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้ ครอบงำ ไม่ใช่ถูกใครๆ ครอบงำ เป็นผู้เห็นแน่นอน๒- มีอำนาจ เราได้เป็นท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพถึง ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต เป็นผู้ชนะสงคราม มีชนบทที่ถึงความมั่นคง ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ ตั้งหลายร้อยครั้ง เรานั้นมีรัตนะ ๗ ประการนี้๓- คือ ๑. จักรแก้ว ๒. ช้างแก้ว ๓. ม้าแก้ว ๔. มณีแก้ว ๕. นางแก้ว ๖. คหบดีแก้ว ๗. ขุนพลแก้ว เราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้ เรานั้นปกครองแผ่นดินนี้อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา @เชิงอรรถ : @ สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ ได้แก่ ช่วงระยะ @เวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (ตามนัย วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘) @ เห็นแน่นอน หมายถึงเห็นเหตุการณ์อดีต อนาคต และปัจจุบันได้อย่างชัดเจนด้วยอภิญญาญาณ @(องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๖๒/๒๒๔) @ ดู ที.ม. ๑๐/๒๔๓-๒๕๑/๑๕๐-๑๕๔ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๙. เมตตสูตร

จงดูวิบากแห่งบุญกุศล ของบุคคลผู้แสวงหาความสุข ภิกษุทั้งหลาย เราเจริญเมตตาจิตมา ๗ ปี ไม่มาสู่โลกนี้อีกตลอด ๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป เมื่อโลกเสื่อม เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เราเข้าถึงพรหมวิมานอันว่างเปล่า ในกาลนั้น เราเป็นมหาพรหมผู้มีอำนาจถึง ๗ ครั้ง เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ เสวยเทพสมบัติ ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวชมพูทวีป เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษก เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ ปกครองปฐพีมณฑลนี้โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา สั่งสอนคนในปฐพีมณฑลนั้นโดยธรรมสม่ำเสมอ ไม่ผลุนผลัน ครั้นได้ครองราชสมบัติในปฐพีมณฑลนี้โดยธรรมแล้ว ได้เกิดในตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก เพียบพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ ที่อำนวยความประสงค์ได้ทุกอย่าง ฐานะนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงสงเคราะห์โลก ทรงแสดงไว้ดีแล้ว เหตุที่เขาเรียกว่า เจ้าแผ่นดิน ก็เพราะเป็นใหญ่ เราเป็นพระราชาผู้เรืองเดช มีทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมากมาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๑๐. ภริยาสูตร

มีฤทธิ์ มียศ เป็นใหญ่แห่งชนชาวชมพูทวีป ใครเล่า ได้ฟังแล้วจะไม่เลื่อมใส แม้ชนชั้นกัณหาภิชาติ๑- เพราะฉะนั้นแล ผู้มุ่งประโยชน์ มุ่งความเป็นใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพสัทธรรมเถิด
เมตตสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ภริยาสูตร
ว่าด้วยภรรยา
[๖๓] ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ที่ปูลาดไว้แล้ว สมัยนั้นแล ในนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี มีเหล่ามนุษย์ส่งเสียง ดังอื้ออึง อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี เหตุไรหนอ เหล่ามนุษย์ในนิเวศน์ของท่านจึงส่งเสียงดังอื้ออึง เหมือน ชาวประมงแย่งปลากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุชาดานี้ ข้าพระองค์พามาจากตระกูลมั่งคั่ง เป็น สะใภ้ในเรือน นางไม่เชื่อฟังแม่ผัว ไม่เชื่อฟังพ่อผัว ไม่เชื่อฟังสามี แม้แต่พระผู้มี พระภาค นางก็ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนมา ตรัสว่า “มานี่ สุชาดา” นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสกับนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ กัณหาภิชาติ หมายถึงบุคคลที่เกิดในตระกูลต่ำ ๕ ตระกูล คือ (๑) ตระกูลจัณฑาล (๒) ตระกูลช่างสาน @(๓) ตระกูลนายพราน (๔) ตระกูลช่างรถ (๕) ตระกูลคนขนขยะซึ่งเป็นตระกูลที่ยากจน @(องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๗/๕๔๓-๕๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๒๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=59              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=1939&Z=1976                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=59              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=59&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4339              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=59&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4339                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i051-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an7.62/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :