ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เมตตาวรรค ๖. ทุติยโลกธัมมสูตร

๖. ทุติยโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ ๒
[๖] ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็ หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ โลกธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. ยศ ๔. เสื่อมยศ ๕. นินทา ๖. สรรเสริญ ๗. สุข ๘. ทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็หมุน ไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ย่อมเกิดขึ้น แก่ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ย่อมเกิดขึ้น แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นมีความแปลกกันอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร๑- มีเหตุทำให้ต่างกันอย่างไร ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก พระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้” @เชิงอรรถ : @ คำว่า “มีความแปลกกันอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร” นี้หมายถึงมีความเพียรที่ยิ่ง กล่าวคือมี @กิริยาที่พึงกระทำให้วิเศษแตกต่างกันอย่างไร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖/๒๑๕, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖-๘/๒๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เมตตาวรรค ๖. ทุติยโลกธัมมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ลาภเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ แต่เขาไม่เห็นประจักษ์ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ลาภนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว แต่ลาภนั้นแล เป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ความเสื่อมลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ ความเสื่อมยศ ฯลฯ นินทา ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ ทุกข์เกิดขึ้นแก่ปุถุชน ผู้ยังไม่ได้สดับ แต่เขาไม่เห็นประจักษ์ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ทุกข์นี้เกิดขึ้น แก่เราแล้ว แต่ทุกข์นั้นแล เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ ความเสื่อมลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ ยศย่อม ครอบงำจิตของเขาได้ ความเสื่อมยศย่อมครอบงำจิตของเขาได้ นินทาย่อมครอบงำ จิตของเขาได้ สรรเสริญย่อมครอบงำจิตของเขาได้ สุขย่อมครอบงำจิตของเขาได้ ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้ เขาย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ ยินดีในยศที่ เกิดขึ้น ยินร้ายในความเสื่อมยศ ยินดีในความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ยินร้ายในนินทา ยินดีในสุขที่เกิดขึ้น ยินร้ายในทุกข์ เขาประกอบด้วยความยินดีและความยินร้าย อย่างนี้ ย่อมไม่พ้นจากชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำคราญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับ แค้นใจ) เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ลาภเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ เขาเห็นประจักษ์ รู้ชัดตาม ความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ลาภนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว แต่ลาภนั้นแล เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ความเสื่อมลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ ความ เสื่อมยศ ฯลฯ นินทา ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ ทุกข์เกิดขึ้นแก่อริยสาวก ผู้ได้สดับ แต่เขาเห็นประจักษ์ รู้ชัดตามความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ทุกข์นี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว แต่ทุกข์นั้นแล เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ลาภย่อม ครอบงำจิตของเขาไม่ได้ ความเสื่อมลาภย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ ยศย่อมครอบงำ จิตของเขาไม่ได้ ความเสื่อมยศย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ นินทาย่อมครอบงำจิตของ เขาไม่ได้ สรรเสริญย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ สุขย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เมตตาวรรค ๖. ทุติยโลกธัมมสูตร

ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ เขาไม่ยินดีในลาภที่เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในความ เสื่อมลาภ ไม่ยินดีในยศที่เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ ไม่ยินดีในสรรเสริญที่ เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในนินทา ไม่ยินดีในสุขที่เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในทุกข์ เขาละ ความยินดีและความยินร้ายได้อย่างนี้ จึงพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า หลุดพ้นจากทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือความแปลกกัน นี้คือความแตกต่างกัน นี้คือเหตุ ทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ” ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์ ล้วนไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีความแปรผันเป็นธรรมดา๑- แต่ท่านผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า มีความแปรผันเป็นธรรมดา อิฏฐารมณ์จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์ ความยินดีหรือความยินร้าย ท่านขจัดปัดเป่า จนไม่มีอยู่ ท่านรู้ทางที่ปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมรู้แจ้งชัดโดยชอบ
ทุติยโลกธัมมสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๒/๔๙๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๐๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=79              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=3247&Z=3301                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=96              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=96&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4803              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=96&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4803                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i091-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.006.than.html https://suttacentral.net/an8.6/en/sujato https://suttacentral.net/an8.6/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :