ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๙. นันทสูตร
ว่าด้วยพระนันทะ
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘กุลบุตร’ เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีกำลัง’ เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้น่ารัก‘๓- เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีราคะจัด‘๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๕๑ หน้า ๘๕ ในเล่มนี้ @ เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่รวมลงในสิกขา ๓ (ศีล สมาธิ ปัญญา) @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๘/๒๑๖) @ ผู้น่ารัก ในที่นี้หมายถึงผู้ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๙/๒๑๖) @ ผู้มีราคะจัด ในที่นี้หมายถึงมีราคะมาก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๙/๒๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เมตตาวรรค ๙. นันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จัก ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ประกอบด้วยสติ และสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น วิธีคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายสำหรับนันทะ ดังนี้ คือ หากนันทะจำเป็นต้องมองดูทิศตะวันออก นันทะต้องสำรวมจิตทั้งหมด มองดูทิศตะวันออกด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรามองดูทิศตะวันออกอยู่อย่างนี้ บาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสจักครอบงำจิตของเราไม่ได้’ นันทะต้องเป็นผู้มีสัมปชัญญะใน การมองดูนั้นอย่างนี้ หากนันทะจำเป็นต้องมองดูทิศตะวันตก ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศเหนือ ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศใต้ ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศเบื้องบน ฯลฯ จำเป็นต้องมองดู ทิศเบื้องล่าง ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศเฉียง นันทะต้องสำรวมจิตทั้งหมดมองดู ทิศเฉียง ด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรามองดูทิศเฉียงอยู่อย่างนี้ บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา และโทมนัสจักครอบงำจิตของเราไม่ได้’ นันทะต้องเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการมองดูนั้น อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายสำหรับนันทะ วิธีรู้จักประมาณในการบริโภคสำหรับนันทะ ดังนี้ คือ นันทะต้องพิจารณาโดย แยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา๑- ไม่ใช่เพื่อประดับ๒- ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง๓- แต่เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัด ความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘โดยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนา เก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา’ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีรู้จักประมาณในการบริโภคสำหรับนันทะ @เชิงอรรถ : @ เพื่อความมัวเมา หมายถึงความถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเห่อเหิม ในที่นี้หมายถึง @ความถือตัวว่ามีกำลังเหมือนนักมวยปล้ำ ความถือตัวเพราะมานะ และความถือตัวว่าเป็นชาย @(องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๖/๑๕๙-๑๖๐, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๘/๕๔๙, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๔๕/๕๕๐ @ เพื่อประดับ ในที่นี้หมายถึงเพื่อให้ร่างกายอ้วนพีอวบอิ่มเหมือนหญิงแพศยา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕, @วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๓) @ เพื่อตกแต่ง ในที่นี้หมายถึงเพื่อประเทืองผิวให้งดงามเหมือนหญิงนักฟ้อน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕, @วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เมตตาวรรค ๑๐. การัณฑวสูตร

วิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ สำหรับนันทะ ดังนี้ คือ นันทะ ต้องชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้น๑- ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด ปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาโดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ- สัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา(ความหมายใจว่าจะลุกขึ้น)ไว้ในใจในมัชฌิมยามแห่ง ราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ สำหรับนันทะ วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ ดังนี้ คือ เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏ ตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏ ดับไปแก่นันทะ วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือ วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จัก ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ประกอบด้วยสติ และสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ อย่างนี้แล
นันทสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. การัณฑวสูตร
ว่าด้วยสมณะหยากเยื่อ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งสระคัคคราโบกขรณี เขตกรุงจัมปา สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจท ด้วยอาบัตินั้น พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ @เชิงอรรถ : @ ธรรมเครื่องกางกั้นในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท @(ความคิดร้าย) (๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) @(๕) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๕๑/๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๑๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๑๓-๒๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=82              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=3405&Z=3448                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=99              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=99&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4816              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=99&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4816                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i091-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.009.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/08/an08-009.html https://suttacentral.net/an8.9/en/sujato https://suttacentral.net/an8.9/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :