ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๒. ปัญจังคสูตร
ว่าด้วยองค์ ๕
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์๑- เป็นอุดมบุรุษในธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้ละองค์ ๕ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ละกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ๒. เป็นผู้ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ๓. เป็นผู้ละถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ๔. เป็นผู้ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ๕. เป็นผู้ละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ อยู่จบพรหมจรรย์ หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะ @ต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ ชื่อว่าอเสขบุคคล (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๒. ปัญจังคสูตร

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ๑- ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์(กองวิมุตติ)ที่เป็นอเสขะ ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๒- (กองวิมุตติญาณทัสสนะ) ที่เป็นอเสขะ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่า ผู้ ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษในธรรมวินัยนี้ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และ วิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ภิกษุผู้เช่นนั้นสมบูรณ์ด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ สมาธิขันธ์ที่เป็นอเสขะ ปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสขะ วิมุตติขันธ์ที่เป็นอเสขะ และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ ภิกษุนั้นแลผู้ละองค์ ๕ ได้ สมบูรณ์ด้วยองค์ ๕ ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ‘ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล’ ในธรรมวินัยนี้
ปัญจังคสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ อเสขะ หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ คือ พระอรหันตขีณาสพ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐) @ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ในที่นี้หมายถึงปัจจเวกขณญาณเป็นขันธ์ระดับโลกิยะ ส่วนขันธ์ที่เหลือข้างต้นเป็น @ขันธ์ระดับโลกุตตระ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๙-๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=12              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=395&Z=417                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=12              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=12&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7205              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=12&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7205                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i011-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an10.12/en/sujato https://suttacentral.net/an10.12/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :