ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๖. อาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก บุคคล ๑๐ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๓. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต๑- @เชิงอรรถ : @ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน ได้สัมผัส @วิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติและสิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์ @ผู้ได้ปัญญาวิมุตติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๖. อาหุเนยยสูตร

๔. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต๑- ๕. ท่านผู้เป็นกายสักขี๒- ๖. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ๓- ๗. ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต๔- ๘. ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี๕- ๙. ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี๖- ๑๐. ท่านผู้เป็นโคตรภู๗- ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อาหุเนยยสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ มิได้สัมผัส @วิโมกข์ ๘ แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ท่านผู้เป็นกายสักขี (ผู้เป็นพยานในนามกาย) หมายถึงท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย และอาสวะ @บางส่วนก็สิ้นไปเพราะรู้เห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้ @ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) หมายถึงผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้องและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป @เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มี @ปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) หมายถึงเข้าใจอริยสัจถูกต้อง ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุ @โสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม) หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บำเพ็ญอริยมรรค ดำรงอยู่ใน @โสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลมีปัญญาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา) คือท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อบรรลุ @โสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ ท่านผู้เป็นโคตรภู หมายถึงผู้ประกอบด้วยวิปัสสนาจิตที่มีพลังถึงที่สุดโดยเป็นปัจจัยที่ต่อเนื่องกันถึง @โสดาปัตติมรรค, หรือท่านผู้ประกอบด้วยโคตรภูญาณ(ญาณครอบโคตร คือญาณที่เป็นหัวต่อระหว่างภาวะ @ปุถุชนกับภาวะอริยบุคคล)อันมีนิพพานเป็นอารมณ์ หมายเอาผู้ปฏิบัติกำลังจะเข้าสู่ขั้นอริยบุคคลชั้นโสดา- @ปัตติมรรค (องฺ.นวก.อ. ๓/๘-๑๐/๒๙๑, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๖/๓๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๙-๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=615&Z=624                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=16              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=16&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7235              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=16&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7235                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i011-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an10.16/en/sujato https://suttacentral.net/an10.16/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :