ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร

๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
ว่าด้วยกรรมที่สัตว์เจตนาสั่งสม สูตรที่ ๑
[๒๑๗] ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่ง กรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ใน อัตภาพถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อ นั้นแล วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๓ ประการ วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก ๔ ประการ วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็น กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๓ ประการ วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของ ผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครอง ของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติ ธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุด แม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวง มาลัยหมายไว้ วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น วิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร

วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น วิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ หรือรู้ ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะ เหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ยุยงคนที่ สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่แตก แยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน ๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่หยาบคาย กล้าแข็ง เผ็ดร้อน หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่ เป็นไปเพื่อสมาธิ ๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่ กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์ เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ ของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร

๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูก ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’ ๓. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และ โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’ วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น วิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล เพราะวิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ เพราะวิบัติ คือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๔ ประการ หรือเพราะวิบัติคือโทษแห่ง มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ เพราะวิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๔ ประการ หรือเพราะวิบัติคือ โทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมถูกโยนขึ้นสูง ก็กลับลงมาตั้งอยู่ด้วยดีตามปกติ ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่งกรรมที่ สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ในอัตภาพ ถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่ กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อนั้นแล สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร

สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์ เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย จิตเป็นเหตุขโมย ๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติล่วง ในสตรีทั้งหลายที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่ อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่ อยู่ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุดแม้แต่สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้ สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลก ๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คืออยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่ รู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ หรือรู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ ไม่เห็นกล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ หรือเห็น ก็กล่าวว่า ‘เห็น’ ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคล อื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร

เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ ความสามัคคี ๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือกล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูด อิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่ กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็น อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์ เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’ ๒. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่ มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’ ๓. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล การเซ่นสรวงมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง มีอยู่ในโลก’ สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ เพราะสมบัติแห่ง วจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๔ ประการ หรือเพราะสมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนา เป็นกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลาย หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ เพราะสมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๔ ประการ หรือเพราะสมบัติแห่ง มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน สุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมที่บุคคลโยนขึ้นข้างบน ตกลงมา ทางเหลี่ยมใดๆ ก็ตั้งอยู่ได้ตามเหลี่ยมที่ตกลงนั้นๆ
ปฐมสัญเจตนิกสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๕๗-๓๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=192              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=6958&Z=7087                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=194              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=194&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8512              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=194&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8512                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i189-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an10.217/en/sujato https://suttacentral.net/an10.217/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :