ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๖. พยสนสูตร

๖. พยสนสูตร
ว่าด้วยความพินาศ
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษ๑- เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่า ร้ายพระอริยะ เป็นไปได้๒- ที่ภิกษุนั้นจะถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง ความพินาศ ๑๑ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ ๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ๓. สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๔. เป็นผู้เข้าใจผิดว่าได้บรรลุสัทธรรม ๕. เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๖. ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๗. บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ๘. เป็นโรคร้ายแรง ๙. ถึงความวิกลจริต หรือจิตฟุ้งซ่าน ๑๐. หลงลืมสติมรณภาพ ๑๑. หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้ายพระ อริยะ เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจะถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้ายพระอริยะ เป็นไปไม่ ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง ความพินาศ ๑๑ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ ๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ๓. สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว @เชิงอรรถ : @ บริภาษ ในที่นี้หมายถึงกล่าวโทษว่า “ท่านเป็นโจร ท่านเป็นคนพาล ท่านเป็นคนหลง ท่านเป็นขโมย” @(วิ.มหา. ๑/๙๒/๖๒) @ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ(เหตุ)ที่ให้เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๗. ปฐมสัญญาสูตร

๔. เป็นผู้เข้าใจผิดว่าได้บรรลุสัทธรรม ๕. เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๖. ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๗. บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ๘. เป็นโรคร้ายแรง ๙. ถึงความวิกลจริต หรือจิตฟุ้งซ่าน ๑๐. หลงลืมสติมรณภาพ ๑๑. หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้าย พระอริยะ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง
พยสนสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๙๗-๓๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=202              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=7691&Z=7703                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=213              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=213&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8559              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=213&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8559                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i208-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an11.6/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :