ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๑๑. จตุตถสมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ สูตรที่ ๔
[๒๑] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ ทั้งหลาย มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุ ดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ใน อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน- ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลก นี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑๑. จตุตถสมาธิสูตร

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ กระผมทั้งหลายมาแต่ที่ไกลเพื่อจะรู้เนื้อ ความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของท่านสารีบุตร เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบาย เนื้อความแห่งภาษิตนี้ให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากท่านสารีบุตรแล้วจัก ทรงจำไว้” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่า เป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” ภิกษุทั้งหลายเรียนถามว่า “ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย ไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญา แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญา อย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ผู้มีอายุทั้งหลาย มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่า เป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่า เป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมี สัญญา”
จตุตถสมาธิสูตรที่ ๑๑ จบ
อนุสสติวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมมหานามสูตร ๒. ทุติยมหานามสูตร ๓. นันทิยสูตร ๔. สุภูติสูตร ๕. เมตตาสูตร ๖. อัฏฐกนาครสูตร ๗. โคปาลสูตร ๘. ปฐมสมาธิสูตร ๙. ทุติยสมาธิสูตร ๑๐. ตติยสมาธิสูตร ๑๑. จตุตถสมาธิสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๔๒-๔๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=217              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=8686&Z=8720                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=228              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=228&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=228&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i218-e.php#sutta11 https://suttacentral.net/an11.21/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :