ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๔. อุปสัมปทาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้อุปสมบท
[๓๔] พระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม เท่าไรหนอ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้ @ ปาติโมกข์ทั้งสอง ในที่นี้หมายถึง มหาวิภังค์ (ภิกขุวิภังค์) ว่าด้วยสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ ๒๒๗ ข้อ @และภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ข้อฝ่ายภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. อุปาลิวรรค ๔. อุปสัมปทาสูตร

ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงามใน เบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ๓. ทรงจำปาติโมกข์ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดี โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๔. เป็นผู้สามารถพยาบาลได้เอง หรือให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลสัทธิวิหาริกผู้เจ็บไข้ ๕. เป็นผู้สามารถระงับได้เอง หรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความไม่ยินดี๑- ๖. เป็นผู้สามารถบรรเทาความรำคาญที่เกิดขึ้นได้เองโดยธรรม ๗. เป็นผู้สามารถปลดเปลื้องความเห็นผิดที่เกิดขึ้นได้โดยธรรม ๘. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิศีล ๙. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิจิต ๑๐. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิปัญญา อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้”
อุปสัมปทาสูตร ที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ความไม่ยินดี ในที่นี้หมายถึงความเบื่อหน่ายในการประพฤติพรหมจรรย์ ประสงค์จะลาสิกขา @(องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๔/๓๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๘๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๘๔-๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=1738&Z=1756                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=33              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=33&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7761              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=33&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7761                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i031-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an10.34/en/sujato https://suttacentral.net/an10.34/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :