ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. อักโกสวรรค ๖. สักกสูตร

๖. สักกสูตร
ว่าด้วยอุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะ
[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะเป็นจำนวนมากได้พากัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับในวันอุโบสถ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามอุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะดังนี้ว่า “อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถที่ ประกอบด้วยองค์ ๘ บ้างหรือไม่หนอ” อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะเหล่านั้นกราบทูลว่า “บางคราวข้าพระองค์ ทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ แต่บางคราวก็ไม่ได้พากันรักษา พระพุทธเจ้าข้า” “อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของท่านทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายได้ชั่วแล้ว ที่เมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้ บางคราวท่านทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ แต่บางคราวก็ไม่ได้ พากันรักษา ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้พึงหาทรัพย์ได้วันละ กึ่งกหาปณะด้วยการงานชอบ โดยไม่แตะต้องอกุศลกรรมเลย สมควรจะกล่าวได้ หรือไม่ว่า ‘เป็นคนฉลาด มีความขยันหมั่นเพียร” “สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้พึงหาทรัพย์ได้วันละ ๑ กหาปณะ ... ๒ กหาปณะ ... ๓ กหาปณะ ... ๔ กหาปณะ ... ๕ กหาปณะ ... ๖ กหาปณะ ... ๗ กหาปณะ ... ๘ กหาปณะ ... ๙ กหาปณะ ... ๑๐ กหาปณะ ... ๒๐ กหาปณะ ... ๓๐ กหาปณะ ... ๔๐ กหาปณะ ... ๕๐ กหาปณะ ... ๑๐๐ กหาปณะ ด้วยการงานชอบ โดยไม่แตะ ต้องอกุศลกรรมเลย สมควรจะกล่าวได้หรือไม่ว่า ‘เป็นคนฉลาด มีความขยันหมั่นเพียร” “สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. อักโกสวรรค ๖. สักกสูตร

“อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร บุคคลนั้น เมื่อหาทรัพย์ได้วันละ ๑๐๐ กหาปณะ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ก็เก็บทรัพย์ที่ ตนได้ไว้ เป็นผู้มีชีวิต ๑๐๐ ปี จะพึงได้โภคสมบัติกองใหญ่บ้างหรือไม่หนอ” “ได้ พระพุทธเจ้าข้า” “อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร บุคคลนั้นจะพึงเสวยสุขอย่างเดียวอยู่ตลอดคืนหนึ่ง วันหนึ่ง ครึ่งคืนหรือครึ่งวันอันมี โภคสมบัตินั้นเป็นเหตุ มีโภคสมบัตินั้นเป็นปัจจัย มีโภคสมบัตินั้นเป็นที่ตั้งได้บ้างหรือ ไม่หนอ” “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” “เพราะกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ว่างเปล่า หลอกลวง๑- มีความฉิบหายไป เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ส่วนสาวก ของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจปฏิบัติตาม ที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๑๐ ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็นต้องพูดถึง ๑๐ ปี สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๙ ปี ... ๘ ปี ... ๗ ปี ... ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็นต้องพูดถึง ๑ ปี สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๑๐ เดือน พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอน @เชิงอรรถ : @ คำว่า ไม่เที่ยง คือมีแล้วก็กลับกลายเป็นไม่มี ว่างเปล่า คือ ปราศจากสาระ หลอกลวง คือ แม้จะปรากฏ @เหมือนเป็นของเที่ยง สวยงาม และเป็นสุข แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๖/๓๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. อักโกสวรรค ๖. สักกสูตร

อยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็น ต้องพูดถึง ๑๐ เดือน สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๙ เดือน ... ๘ เดือน ... ๗ เดือน ... ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... ครึ่งเดือน พึงเป็นผู้ เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติ ผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็นต้องพูดถึงครึ่งเดือน สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๑๐ คืน ๑๐ วัน พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่ นอนอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็น ต้องพูดถึง ๑๐ คืน ๑๐ วัน สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๙ คืน ๙ วัน ... ๘ คืน ๘ วัน ... ๗ คืน ๗ วัน ... ๖ คืน ๖ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๒ คืน ๒ วัน ... ๑ คืน ๑ วัน พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะ ทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ชั่วแล้ว ที่เมื่อชีวิตมีภัยเพราะ ความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้ บางคราวท่านทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถที่ ประกอบด้วยองค์ ๘ แต่บางคราวก็ไม่ได้พากันรักษา อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้จักพากันรักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
สักกสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๐๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๐๐-๑๐๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2006&Z=2083                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=46              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=46&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7811              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=46&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7811                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i041-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.046.than.html https://suttacentral.net/an10.46/en/sujato https://suttacentral.net/an10.46/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :