ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๕. มิคสาลาสูตร๑-
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่ามิคสาลา
[๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครอง อันตรวาสกถือบาตรและจีวร๒- แล้วเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่ ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล มิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๔๔/๓๓๔ @ คำว่า “ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้ มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระอานนท์มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่าพระ @อานนท์ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบง @หรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย คือ @ห่มจีวรแล้วอุ้มบาตรนั่นเอง เทียบ (วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓, ม.มู.อ. ๑/๖๓/๑๖๓, ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร

“ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือ คนหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อว่าปุราณะ เป็นผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน๑- ซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน หมู่เทพชั้นดุสิต เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ สทารสันโดษ(ยินดีด้วยภรรยาของตน) แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรง พยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร” ท่านพระอานนท์ตอบว่า “น้องหญิง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้ แล้วอย่างนี้เหมือนกัน” ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาต ณ ที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกาแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นในเวลาหลังภัตตาหาร ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่ปูลาด ไว้ ลำดับนั้นแล นางได้เข้าไปหาข้าพระองค์ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามข้า พระองค์ว่า ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ @เชิงอรรถ : @ เมถุน หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด @เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ ๑ ข้อ ๕๕ หน้า ๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน หมู่เทพชั้นดุสิต เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ สทารสันโดษ แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่าเป็น สกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงตอบว่า ‘น้องหญิง ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้เหมือนกัน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่ กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล ใครกันเล่าคือมิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่ หลักแหลม มีปัญญาทึบ และใครกันเล่าคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มีอะไร ขัดขวางได้๑- อานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๑๐ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติซึ่ง เป็นที่ดับความเป็นผู้ทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๒- และไม่ได้วิมุตติ๓- ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ๒. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งเป็นที่ดับความเป็นผู้ทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ @เชิงอรรถ : @ ข้อความพระดำรัสนี้ พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะแสดงให้เห็นว่าการที่จะเปรียบเทียบตัดสินหรือวัด @คุณสมบัติของบุคคลด้านการกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าหรืออ่อนนั้น ไม่ใช่วิสัยของมิคสาลาอุบาสิกา หรือบุคคล @ผู้ปราศจากญาณโดยทั่วไป แต่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีญาณวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้เท่านั้น @(เทียบ องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๔๔/๓๓๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๔/๑๒๕) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้ @ ไม่ได้วิมุตติ หมายถึงไม่ได้อรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร

ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติ ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม บุคคลผู้ถือประมาณ๑- ย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ‘ธรรมแม้ของบุคคลนี้ก็คือ ธรรมของอีกคนหนึ่งนั่นแล บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น เพราะเหตุไร คนหนึ่งจึงเลว คนหนึ่งจึงดี’ แท้จริง การถือประมาณของผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีล แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งเป็นที่ดับความทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจ ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลาอันควร บุคคลนี้ดี กว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนี้หยั่ง ลงสู่อริยภูมิ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ชอบถือประมาณในบุคคล และอย่าถือประมาณในบุคคล เพราะบุคคลผู้ ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน ส่วนเราหรือผู้เหมือนเราพึงถือ ประมาณในบุคคลได้ ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติซึ่ง เป็นที่ดับศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และไม่ได้วิมุตติ ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ๔. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล และรู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งเป็นที่ดับศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลา อันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึง ความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม @เชิงอรรถ : @ ถือประมาณ ในที่นี้หมายถึงเปรียบเทียบตัดสินคุณสมบัติหรือคุณธรรมด้านเดียวกันระหว่างบุคคลหนึ่งกับ @อีกบุคคลหนึ่ง ว่า ใครมีคุณน้อย ใครมีคุณมาก หรือใครมีคุณมากกว่า ใครมีคุณมากที่สุด @(เทียบ องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๕/๓๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร

บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือนเรา พึงถือประมาณในบุคคลได้ ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีราคะจัด และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับราคะได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ๖. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีราคะจัด แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา- วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับราคะได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วย การฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติ ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือนเรา พึงถือประมาณในบุคคลได้ ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งเป็นที่ดับความโกรธได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ๘. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับความโกรธได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้ วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไป ทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือนเรา พึงถือประมาณในบุคคลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร

๙. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งเป็นที่ดับความฟุ้งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ๑๐. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งเป็นที่ดับความฟุ่งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้ วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไป ทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม อานนท์ บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ‘ธรรมแม้ของบุคคลนี้ก็ คือธรรมของอีกคนหนึ่งนั่นแล บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น เพราะเหตุไร คนหนึ่งจึงเลว คนหนึ่งจึงดี’ แท้จริง การถือประมาณของผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา- วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับความฟุ้งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการ ฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลาอันควร บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ บุคคลนี้หยั่งลงสู่อริยภูมิ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบถือประมาณในบุคคล และอย่าถือประมาณในบุคคล เพราะบุคคลผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน ส่วนเราหรือผู้ เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล ใครกันเล่าคือมิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่หลักแหลม มีปัญญาทึบ และ ใครกันเล่าคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร

อานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก บุรุษชื่อว่าปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะก็เป็นผู้ ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะในโลก นี้ก็หามิได้ บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด บุรุษชื่อว่าปุราณะก็ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อว่า ปุราณะในโลกนี้ก็หามิได้ อานนท์ บุคคลทั้ง ๒ นี้แล เป็นผู้ต่ำกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง อย่างนี้แล
มิคสาลาสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๖๓-๑๖๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=73              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=3248&Z=3380                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=75              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=75&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8082              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=75&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8082                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i071-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an10.75/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :